Page 166 - kpi19903
P. 166
138
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นหากพิจารณาในระดับบุคคลรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการเลือกตั้งเช่นกัน
มีงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ฯ และพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระดับ
ภูมิภาคและระดับบุคคลที่มีความย้อนแย้งกันเองนั่นพบได้ในงานวิจัยหลายเล่มทั้งในการวิจัยต่าง ๆ เช่น Red
State, Blue State, Rich State, Poor State Why Americans Vote the Way They Do (A Gelman, 2010)
ที่ศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2000 ถึง 2004 ที่ว่าพบว่าประชาชน
อเมริกันที่ร่ ารวยมักลงคะแนนเสียงให้พรรค Republican แต่รัฐที่มีรายได้สูงจะมีแนวโน้มเลือกพรรค Republican
ลดลง
ส าหรับประเทศไทยงานวิจัยเลือกเพราะชอบ (อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, 2556a) ที่ศึกษาพฤติกรรมการ
เลือกตั้งของไทยใน พ.ศ. 2550 พบว่า ประชาชนแต่ละคนในแต่ละระดับรายได้ครัวเรือนจะมีแนวโน้มในการออกไป
ใช้สิทธิเลือกตั้งที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามในการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาหาความต่างของรายได้เฉลี่ยครัวเรือนกับ
แนวโน้มที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งว่าประชาชนจะออกไปเลือกตั้งหรือไม่ ไม่ได้พิจารณาว่าประชาชนที่เลือก
ผู้สมัครแต่ละพรรคจะมีรายได้เฉลี่ยแตกต่างกันหรือไม่
การศึกษาในครั้งนี้จะเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยฯ ที่ประชาชนในเลือกผู้สมัครในแต่ละพรรคการเมืองว่ามี
ความแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งพบว่า ประชาชนที่เลือกผู้สมัครพรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และพรรค อื่น ๆ ทั้งใน
ระบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไม่แตกต่างกัน โดยประชาชนที่ลงคะแนนเสียงเลือก
ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์จะมีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 15,200 และ 14,600 บาท ในระบบเขตและบัญชี
รายชื่อตามล าดับ ส าหรับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของประชาชนที่ลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย มี
รายได้ฯ ประมาณ 15,200 และ 15,000 บาท ในระบบเขตและบัญชีรายชื่อตามล าดับ และพบว่าประชาชนที่เลือก
ผู้สมัครจากพรรคอื่น ๆ ที่เหลือนั้นมีรายได้เฉลี่ยฯ ประมาณ 15,700 และ 16,700 บาท ในระบบเขตและบัญชี
รายชื่อตามล าดับ เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มประชาชนที่เลือกผู้สมัครจากพรรคต่าง ๆ
พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทั้งในระบบเขต (F=0.02, p-value=.982) และระบบบัญชีรายชื่อ (F=0.28, p-
value=.758) รายละเอียดของค่าสถิติที่ทดสอบแสดงในตารางที่ 9.1
ผลการวิจัยนี้ค่อนข้างสอดคล้องกับงานของอภิชาติ สถิตนิรามัยที่ไม่ได้พบว่ามีความแตกต่างระหว่าง
สถานะทางสังคมเศรษฐกิจระหว่างประชาชนที่มีความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่างกันแต่อย่างใด (อภิชาต สถิต
นิรามัย et al., 2556a) และไม่สอดคล้องกับงานวิจัยในอดีตที่พบว่าสถานะทางสังคมเศรษฐกิจของขั้วการเมืองไทย
สองขั้วมีสถานทางสังคมเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งพบว่าประชาชนที่สนับสนุนระบบทักษิณและนปช. มีสถานะ
ทางสังคมเศรษฐกิจอันได้แก่รายได้และการศึกษาต่ ากว่ากปปส. (Siamwalla & Jitsuchon, 2012; The Asia
Foundation, 2013a, 2014)