Page 160 - kpi19903
P. 160
132
เขตปี 2548 2550 กับผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อปี 2554 แสดงในตารางที่ 8.5 และตารางที่ 8.6 ซึ่งมีข้อ
ค้นพบที่ส าคัญดังนี้
หนึ่ง ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของพรรคประชาธิปัตย์ (2548 และ 2550) สัมพันธ์ทางบวกกับผลการ
เลือกตั้งแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ (2554) (r=.86 & .55 ตามล าดับ)
สอง ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของพรรคไทยรักไทย (2548) และ พรรคพลังประชาชน (2550) สัมพันธ์
ทางบวกกับผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย (2554) (r=.80 & .20 ตามล าดับ)
สาม ผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ (2548 และ 2550) สัมพันธ์ทางบวก
กับผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของพรรคประชาธิปัตย์ (2554) (r=.86 & .90 ตามล าดับ)
สี่ ผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย (2548) และ พรรคพลังประชาชน
(2550) สัมพันธ์ทางบวกกับผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของพรรคเพื่อไทย (2554) (r=.80 & .84 ตามล าดับ)
ห้า ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของพรรคชาติไทย (2548 และ 2550) สัมพันธ์ทางบวกกับผลการเลือกตั้ง
แบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคชาติไทยพัฒนา (2554) (r=.53 & .60 ตามล าดับ)
หก ผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคชาติไทย (2548 และ 2550) สัมพันธ์ทางบวกกับ
ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของพรรคชาติไทยพัฒนา (2554) (r=.54 & .58 ตามล าดับ)
จากผลการวิเคราะห์ข้างต้น ท าให้ตอบค าถามน าการวิจัยที่เจ็ดได้ว่าพรรคการเมืองมีฐานเสียงในการ
เลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต/บัญชีรายชื่อจะช่วยให้สามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ/
แบ่งเขตได้ แต่จะค้นพบลักษณะดังกล่าวที่เกิดการแผ่ขยายทั่วไปของสิ่งเร้าเฉพาะในพรรคการเมืองขนาดใหญ่ และ
ไม่พบในพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็กยกเว้นพรรคชาติไทยและพรรคชาติไทยพัฒนาเท่านั้น
ตำรำงที่ 8.5 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตปี 2548 2550 กับผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
ปี 2554