Page 156 - kpi19903
P. 156

128



               ของคะแนนเสียงเลือกตั้งระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยในปี 2548 สัมพันธ์กับร้อยละของคะแนน
               เสียงเลือกตั้งระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยในปี 2554 (r= .65) และร้อยละของคะแนนเสียง

               เลือกตั้งระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชาชนในปี 2550 สัมพันธ์กับร้อยละของคะแนนเสียงเลือกตั้ง

               ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยในปี 2554 (r= .76) ซึ่งมีค่าต่ ากว่า นอกจากนี้ผลการเลือกตั้งระบบ
               สัดส่วน/บัญชีรายชื่อในปี 2550 ของพรรคชาติไทยกับผลการเลือกตั้งระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อของชาติไทย

               พัฒนาในปี 2554 มีความสัมพันธ์กันสูงมาก (r=.83)

                       ดังนั้น จึงตอบค าถามน าการวิจัยที่สามได้ว่า การเลือกตั้งระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อนั้น พรรคประชาธิปัตย์
               รักษาฐานเสียงเดิมไว้ได้ดีที่สุด และพรรคชาติไทยรักษาฐานเสียงเดิมไว้ได้ดีรองลงมา ส่วนพรรคเพื่อไทย พลัง

               ประชาชน และไทยรักไทยนั้นรักษาฐานเสียงเดิมไว้ได้ดีพอสมควร ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก

               แทบจะรักษาฐานเสียงทางการเมืองเอาไว้ไม่ได้ ทั้งนี้พึงตั้งข้อสังเกตว่าการรักษาฐานเสียงทางการเมืองเป็นคนละ
               เรื่องกับการขยายฐานเสียงทางการเมือง และค่าสหสัมพันธ์ที่ต่ ากว่าของพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน หรือเพื่อ

               ไทยนั้นอาจจะเกิดจากการขยายหรือเปลี่ยนแปลงฐานเสียงทางการเมืองก็เป็นได้


               8.5 พรรคกำรเมืองสำมำรถรักษำฐำนเสียงในกำรเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตได้ดีกว่ำกำรเลือกตั้ง ส.ส. ใน

               ระบบบัญชีรำยชื่อหรือไม่?

                       ค าถามน าการวิจัยที่สี่ คือ พรรคการเมืองสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตได้
               ดีกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อได้หรือไม่? โดยคาดว่าการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองน่าจะมี

               การดูแลและผูกพันกับประชาชนในพื้นที่ในกรณีการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่าระบบบัญชีรายชื่อ เพราะมี

               ระบบหัวคะแนนเป็นหมุดเชื่อมระหว่างนักการเมืองกับประชาชนในพื้นที่ (อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ et al., 2559)
               นอกจากนี้การเมืองในชีวิตประจ าวัน (Everyday politics life) อันเป็นการสร้างสายสัมพันธ์และระบบอุปถัมภ์ใน

               พื้นที่ของ ส.ส. (Walker, 2008) น่าจะท าให้การรักษาฐานเสียงการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบแบ่งเขตท าได้ดีกว่าใน

               ระบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อ
                       ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่าผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2548 และ

               2550 กับปี 2554 มีค่าสหสัมพันธ์สูงมาก (r=.86 & .89 ตามล าดับ) แต่ไม่ได้สูงกว่าความสัมพันธ์ในลักษณะ

               เดียวกันในระบบบัญชีรายชื่อแต่อย่างใด (r=.65 & .92) ซึ่งจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้งในปี
               2548 กับ 2554 ของระบบแบ่งเขตมีค่าสูงกว่ามาก (.86 v.s. .65) ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้งใน

               ปี 2550 กับ 2554 ในระบบบัญชีรายชื่อมีค่าสูงกว่าเล็กน้อย (.89 v.s. .92)

                       ส าหรับพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และเพื่อไทย มีความซับซ้อนกว่ามาก และต้องตกลงว่าสามพรรค
               การเมืองนี้แท้จริงเป็นพรรคการเมืองเดียวกันเสียก่อนจึงด าเนินการวิเคราะห์ต่อไปได้
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161