Page 151 - kpi19903
P. 151
123
ส าหรับผลการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ นั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับผลการเลือกตั้ง ส.ส.
ระบบแบ่งเขต
หนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนเลือกตั้งของระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ สูงกว่าแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์เองในการเลือกตั้งทั้งสามครั้ง แต่ก็ยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนน
เลือกตั้งของระบบสัดส่วนของพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และเพื่อไทยอยู่มาก
สอง พรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนเลือกตั้งในระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อต่ า
มากและต่ ากว่าค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตอย่างชัดเจน แม้กระทั่งพรรคชาติไทยที่มี
ค่าเฉลี่ยสูงกว่าพรรคขนาดกลางและเล็กแล้วก็ยังมีค่าเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 10 ดังนั้นโอกาสที่พรรคขนาดกลางและ
ขนาดเล็กจะได้รับเลือกตั้งจากระบบสัดส่วน/แบ่งเขตจึงค่อนข้างยากมาก
ข้อสังเกตประการหนึ่งของผลการเลือกตั้ง ก็คือ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะได้ผู้สมัครจาก
หลากหลายพรรคการเมืองมากกว่า ในขณะที่การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อนั้นจะมีเพียงพรรคการเมืองใหญ่ ๆ เช่น
พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ได้รับเลือกตั้ง นอกจากนี้การที่พรรคพลังประชาชนสูญเสียคะแนน
จากการเลือกตั้ง ปี 2550 ไปนั้น อาจมีเหตุผลมาจากหลายประการด้วยกัน เช่นประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายทาง
การเมืองจึงท าให้พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น และอีกประการที่น่าสนใจก็
คือการแบ่งเขตเลือกตั้งในปี 2550 มีขนาดเขตเลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้นมีพื้นที่กว้างขึ้น และมี ส.ส. ต่อเขตได้หลายคน จึง
ท าให้ชนะการเลือกตั้งได้ยากมากขึ้นเพราะเขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้นต้องใช้ความพยายามในการหาเสียงมากขึ้น
8.2 พรรคกำรเมืองสำมำรถรักษำฐำนเสียงในกำรเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตได้หรือไม่?
พฤติกรรมการเลือกตั้งในอดีตเป็นตัวแปรหนึ่งที่ส าคัญอย่างยิ่งในการพยากรณ์ผลการเลือกตั้งปี 2554 จาก
การพล็อตข้อมูลผลการเลือกตั้งลงบนแผนที่ พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
ภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกพรรคเดิม ในการเลือกตั้งทั้ง 3 ครั้งที่ท าการศึกษา อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ วิเคราะห์ผลการ
เลือกตั้งในปี 2548 ปี 2550 และปี 2554 พบว่าปี 2550 และปี 2554 ผลการเลือกตั้งค่อนข้างชัดเจนทั้งใน
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลือกพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย
ตามล าดับ แต่ยังพบว่ามีความแกว่ง (Swing) ในการท านายผลการเลือกตั้งจากปี 2548 ถึงปี 2550 และจากปี
2550 ถึงปี 2554 (Attachai Ueranantasun, 2012)
ในส่วนนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ของผลการเลือกตั้งในปี 2548 และ ปี 2550 กับผลการเลือกตั้งปี 2554
เพื่อตอบข้อสงสัยว่าเขตเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่ยังคงมีความเชื่อมั่น หรือความจงรักภัคดีต่อพรรคการเมืองเดิม หรือ
เปลี่ยนไปสนับสนุนพรรคอื่น ๆ และพื้นที่ใดที่ยังคงเหนียวแน่นหรือเป็นฐานเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ทั้งนี้
ค าถามที่ยืนยงคงกระพันในการเมืองไทยมานาน คือ พรรคการเมืองสามารถรักษาฐานเสียงทางการเมืองของตนเอง
ในระบบแบ่งเขตได้หรือไม่ ข้อความนี้เป็นจริงหรือไม่ เราจะตอบค าถามนี้กันด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ในบทนี้ โดย
การศึกษาค่าสหสัมพันธ์ของผลการเลือกตั้งในอดีตกับผลการเลือกตั้งล่าสุดของแต่ละพรรค
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้งในอดีตและผลการเลือกตั้งล่าสุดจะมีทั้งแบบไม่พิจารณา
และพิจารณาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของผลการเลือกตั้ง ส.ส. ในการเลือกตั้ง ปี 2548 และปี 2550 กับผลการ
เลือกตั้งปี 2554 วิเคราะห์ด้วยวิธีก าลังสองน้อยที่สุด (OLS) และวิธี Spatial error regression analysis ซึ่งเป็น
วิธีที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ เพื่อดูว่าเมื่อขจัดอิทธิพลของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ออกไปแล้วตัวแปรอิสระ