Page 146 - kpi19903
P. 146
118
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้อนไปใช้วิธีการเดียวกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญปี 2540 กล่าวคือ มีการแบ่งเขต
เลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละ 1 คน และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ โดยให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถึงกระนั้นมีความแตกต่างที่ส าคัญ คือ จ านวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งลดจาก 400 คนเป็น 375 คน และแก้ไขจ านวนสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรแบบสัดส่วนจ านวน 80 คน เป็นแบบบัญชีรายชื่อจ านวน 125 คน และมีการเปลี่ยนชื่อกลับจาก “แบบ
สัดส่วน” เป็น “แบบบัญชีรายชื่อ”เหมือนเดิมอีกด้วย ในคราวนี้พรรคเพื่อไทยได้ส่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลง
สมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงสมัครรับเลือกตั้ง
การเลือกตั้งปี 2554 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ประมาณร้อยละ 75.04 การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งพรรค
เพื่อไทยได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 40.43 รองลงมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 28.75 พรรคภูมิใจไทย ร้อย
ละ 10.01 และพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 4.34 ตามล าดับ บัตรเสีย ร้อยละ 4.9 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน ร้อย
ละ 2.7 และผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 24.96 การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยก็ยังคงได้รับคะแนน
เฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 44.69 พรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 32.49 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.65 และพรรคชาติไทย
พัฒนา ร้อยละ 2.55 การเลือกตั้งนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ได้มาซึ่งรัฐบาล โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น
นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ พรรคเพื่อไทย (พรรคพลังประชาชน) กลับมาได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นอีก
ครั้ง ได้ที่นั่งผู้แทนในรัฐสภาเกินกว่าครึ่ง ชนะพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นรัฐบาลอยู่ถึง 100 กว่าที่นั่ง (265 ต่อ 159)
การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยจึงกลับมาได้รับคะแนนโดยรวมสูงขึ้น
ผลการเลือกตั้งในปี 2554 น ามาแสดงบนแผนที่ พื้นที่สีแดงซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยชนะการ
เลือกตั้งยังคงได้รับการสนับสนุนจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับการสนับสนุนจากภาค
กลางกลับมาบางส่วนหลังจากสูญเสียคะแนนในพื้นที่นี้ไปในการเลือกตั้งปี 2550 ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ยังคงได้รับ
การสนับสนุนจากพื้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเช่นเดิม พรรคภูมิใจไทย (พรรคมัชฌิมาธิปไตย
เดิม) ได้รับจ านวนมากขึ้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพรรคชาติไทยพัฒนาก็ยังคงได้รับชัยชนะในการ
เลือกตั้งจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม ดังรูปที่ 8.3 ในขณะที่การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อยังคงมี ( ซ้าย )
เพียงสองพรรคการเมืองใหญ่ที่ได้รับชัยชนะในพื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศเช่นเดิม และพรรคชาติไทยพัฒนา
ได้รับชัยชนะในบางเขตเลือกตั้งของภาคกลาง ดังรูปที่ 8.3 (ขวา)
ผลการเลือกตั้งนี้สะท้อนอนิจลักษณะของพรรคการเมืองไทย กล่าวคือ มีพรรคการเมืองขนาดกลางและ
ขนาดเล็กที่ไม่ได้มีความเป็นสถาบัน (Institutionalization) เกิดมา ตั้งอยู่ และดับไป อย่างรวดเร็ว ในลักษณะของ
พรรคเฉพาะกิจและพรรคหัวหน้าตั้งเป็นอันมาก พรรคการเมืองเหล่านี้ท าหน้าที่ได้เพียงวาระเดียวแล้วก็จากไป
เป็นการรวมแห่งเหตุปัจจัยเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างแต่หาได้มีความยั่งยืนไม่ แม้กระทั่งพรรคไทยรักไทย พรรค
พลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยก็เกิดแล้วดับไปในวาระการเลือกตั้งเพียงหนึ่งวาระเท่านั้น ไม่อาจจะอยู่ยืนยงคง
ความเป็นสถาบันพรรคการเมืองได้แต่อย่างใด อาจจะมีเพียงพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ค่อนข้างมีลักษณะความ