Page 145 - kpi19903
P. 145
117
การเลือกตั้งในปี 2550 มีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 157 เขตเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้เปลี่ยนวิธีการ
เลือกตั้งเป็นแบบใหม่ โดยก าหนดจ านวน ส.ส. 480 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จ านวน 400 คน เขตละ 1 ถึง 3 คน
ขึ้นอยู่กับขนาดประชากร และสถานภาพความเป็นจังหวัด และ ส.ส. “แบบสัดส่วน” ที่ใช้เรียกแทน “แบบบัญชี
รายชื่อ” จ านวน 80 คน แบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดต่าง ๆ เป็นจ านวน 8 กลุ่มจังหวัด (ฐากูร จุลินทร, 2557) ใช้
บัตรเลือกตั้งสองใบ
สิ่งที่น่าสังเกตคือจ านวน ส.ส. แบบสัดส่วนของสองพรรคใหญ่ ไม่แตกต่างกันมากนัก แม้ว่าจ านวน ส.ส.
เขตของสองพรรคใหญ่จะแตกต่างกันค่อนข้างมากก็ตาม อย่างไรก็ตามพรรคพลังประชาชน (พรรคเพื่อไทย) ได้ร้อย
ละของจ านวน ส.ส. น้อยลงกว่าปี 2548 ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จ านวน ส.ส. เพิ่มขึ้น และพรรคการเมือง
ขนาดกลางและขนาดเล็กได้เข้ามามีส่วนร่วมในการการจัดตั้งรัฐบาลเพิ่มขึ้น ท าให้การเลือกตั้งในปี 2550 นี้ มี
พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กที่ได้รับที่นั่งในสภาเพิ่มมากขึ้นจากปี 2548 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า
พรรคการเมืองขนาดใหญ่ คือ พรรคที่ได้จ านวน ส.ส. มากกว่า 50 คนขึ้นไปมีเพียงพรรคพลังประชาชน และพรรค
ประชาธิปัตย์ ซึ่งได้ ส.ส. จ านวน 233 คน และ 165 คน ตามล าดับ พรรคการเมืองขนาดกลางที่ได้รับเลือกตั้งมี
เพียง 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และพรรคเพื่อเผ่นดิน ซึ่งได้ ส.ส. จ านวน 37 คน และ 24 คน ตามล าดับ ส่วน
พรรคขนาดเล็กมีเพียง 3 พรรค คือ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราช ซึ่งได้
ส.ส. จ านวน 9 คน 7 คน และ 5 คน ตามล าดับ รวมทั้งสิ้น 7 พรรค
ผลการเลือกตั้ง ปี 2550 น ามาแสดงบนแผนที่ยังคงมีรูปแบบเป็นภูมิภาคที่ชัดเจนเช่นเดิม สีแดง คือเขต
เลือกตั้งที่พรรคพลังประชาชน ยังคงได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เช่นเดิม แม้ว่าจะสูญเสียคะแนนจากบริเวณภาคกลางไป สีฟ้า คือ เขตเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับชนะอยู่
บริเวณภาคใต้และภาคตะวันออก ดังรูปที่ 8.2 (ซ้าย) ในขณะที่ผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วนแสดงให้เห็นถึงการ
สนับสนุนพรรคพลังประชาชนลดลงจากการเลือกตั้งปี 2548 อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามภาคเหนือ และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือยังคงสนับสนุนพรรคพลังประชาชนเช่นเดิม ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังคงได้รับการ
สนับสนุนจากภาคใต้ และได้ ส.ส. แบบสัดส่วนจากภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเพิ่มขึ้นด้วย ดังรูป
ที่ 8.2 (ขวา)
จากการยุบสภาของรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ได้ “แต่งตั้ง” ให้ นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี การเลือกตั้งนี้จึงเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประกอบด้วย
พรรคร่วมรัฐบาลอีกหลายพรรค และช่วงดังกล่าวยังได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ
แห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
การเลือกตั้ง 2554 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 26 ภายใต้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 กระบวนการเลือกตั้ง