Page 140 - kpi19903
P. 140

112



                         บทที่ 8 ปัจจัยเชิงพฤติกรรมกับผลกำรเลือกตั้ง: กำรวิเครำะห์ระดับเขตเลือกตั้ง


                                                                       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
                                                                                                           27
                                                                                ว่าที่ร้อยตรีหญิงรัชนีพร จันทร์สา
                                                                                                           28

                       ในบทนี้จะวิเคราะห์ปัจจัยเชิงพฤติกรรมกับผลการเลือกตั้ง โดยเป็นการวิเคราะห์ระดับเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้

               พฤติกรรมการเลือกตั้งที่จะวิเคราะห์ระดับเขตเลือกตั้งนั้นมีเพียงผลการเลือกตั้งในอดีต ซึ่งได้แก่ ร้อยละการ
               ลงคะแนนเสียงให้แต่ละพรรคการเมือง ร้อยละบัตรเสีย ร้อยละไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง (Vote No) และร้อย

               ละการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (No Vote) ทั้งนี้วิเคราะห์จากผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งในระบบแบ่ง

               เขตและระบบบัญชีรายชื่อในปี 2548, 2550, และ 2554 โดยน าพฤติกรรมการเลือกตั้งในแต่ละเขตพื้นที่ในปี
               2548 และ 2554 มาท านายผลการเลือกตั้งของแต่ละเขตเลือกตั้งในปี 2554

                       ทั้งนี้ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้อธิบายว่า พฤติกรรมในอดีตท านายพฤติกรรมในอนาคตได้ดีที่สุดและในบทที่ 6

               ปัจจัยสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย ก็ได้ทบทวนวรรณกรรมในเรื่องนี้เอาไว้ และ
               ท าให้ทราบว่าพฤติกรรมการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในอดีตของประชาชนแต่ละคนสามารถท านาย

               พฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นได้ดี ท าให้เกิดค าถามขึ้นมาว่า หากเป็นการวิเคราะห์ระดับเขตเลือกตั้ง

               หรือผลการเลือกตั้งโดยตรงผลการเลือกตั้งในอดีตจะท านายผลการเลือกตั้งในอนาคตได้หรือไม่
                       ทั้งนี้ค าถามน าการวิจัยมีดังนี้

                       ค าถามน าการวิจัยที่หนึ่ง: พรรคการเมืองสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตได้

               หรือไม่?
                       ค าถามน าการวิจัยที่สอง: พรรคการเมืองสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อได้

               หรือไม่?

                       สองค าถามนี้เป็นค าถามที่ยืนยงคงกระพันในการเมืองไทยมานาน เช่น มีค ากล่าวว่าในภาคใต้ฐานเสียงเป็น
               ของพรรคประชาธิปัตย์จะส่งเสาไฟฟ้าไปลงเลือกตั้งก็ยังได้เป็น ส.ส. อย่างแน่นอน ข้อความนี้เป็นจริงหรือไม่ เราจะ

               ตอบค าถามนี้กันด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ในบทนี้โดยการศึกษาค่าสหสัมพันธ์ของผลการเลือกตั้งในอดีตกับผลการ

               เลือกตั้งล่าสุดของแต่ละพรรค




               27  ผู้อ านวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล)

               อาจารย์ประจ าสาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์

               สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
               28  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ าและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145