Page 135 - kpi19903
P. 135

108



               ความคิดสูงมากกว่าตัวอย่างที่คาดว่าผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งมากกว่าเท่าตัว อันแสดงให้เห็นแนวโน้มในการเป็น
               Swing voters ค่อนข้างชัดเจนส าหรับตัวอย่างกลุ่มนี้

                       การสร้างตัวแบบล็อกลีเนียร์สองตัวแบบส าหรับการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ

               แสดงในตารางที่ 7.3 ซึ่งไม่ได้ใช้ตัวแบบอิ่มตัว (Saturated model) ที่ต้องรวมอันตรกิริยาสามทางเข้าไปด้วย
               แต่ในตัวแบบที่สร้างขึ้นมีเฉพาะผลตรง (Main effect) และอันตรกิริยาสองทาง (Two-way interaction

               effect) เพื่อให้สามารถประเมินความคล้องจองของตัวแบบกับข้อมูลได้ (Assessment of model fit) เราจึง

               ระบุตัวแบบดังนี้

                            log(µ ijk )        i Ideology     Voting Choice    k Expectation
                                                     j
                                                ij Ideology x Voting Choice    Ideology x Expectation    jk Voting Choice x Expectation
                                                            ik
                       ทั้งนี้หากตัวแปรมี m ประเภท จะมีตัวแปรหุ่นเข้าไปในสมการเท่ากับ m-1 ตัวแปรหุ่น ดังนั้นจึงมีตัว

               แปรหุ่นของตัวแทนความคิดทางการเมืองสองตัวแปรหุ่น เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ตัวแบบล็อกลิเนียร์เป็นไป
               ตามที่คาดไว้  คือ ผลตรงของตัวแปรทั้งสามคือการมีตัวแทนความคิดทางการเมือง ตัวเลือกในการเลือกตั้ง และ

               ความคาดหวังที่ผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งมีนัยส าคัญทางสถิติในการท านายความถี่ของเซลล์ในตารางไขว้สามทาง

                       อันตรกิริยาสองทางระหว่าง ตัวแทนความคิดทางการเมือง x ความคาดหวังที่ผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งมี
               ค่าสัมประสิทธิ์ที่มีนัยส าคัญทางสถิติทั้งหมด อันตรงกับสมมุติฐานการวิจัยที่สองที่ตั้งไว้ทุกประการทั้งการ

               เลือกตั้งในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ

                       และที่น่าสนใจ คือ อันตรกิริยาสองทางระหว่างตัวเลือกในการเลือกตั้ง x ตัวแทนความคิดทาง
               การเมืองก็มีนัยส าคัญทางสถิติเช่นกันทั้งการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ แต่     อันตร

               กิริยาระหว่างตัวแทนความคิดทางการเมือง x ตัวเลือกในการเลือกตั้ง ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติทั้งการเลือกตั้งใน

               ระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ
                       ตัวแบบล็อกลิเนียร์ที่สร้างขึ้นส าหรับการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อต่างมี

               ความคล้องจองกลมกลืนกับข้อมูลเป็นอย่างดี ส าหรับตัวแบบการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตมีค่า likelihood

               ratio chi-square หรือ LR  = 11.058, p-value = 0.26 และ Pearson  = 12.032, p-value = .17
                                        2
                                                                                 2
                                                                                 (4)
                                        (4)
               ซึ่งไม่มีนัยส าคัญทางสถิติแสดงให้เห็นว่าตัวแบบมีความคล้องจองกลมกลืนกับข้อมูลเป็นอย่างดี ส าหรับตัวแบบ
               การเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อมีค่า LR  = 11.91, p-value = .13 และ Pearson  = 12.60, p-
                                                                                             2
                                                       2
                                                       (4)
                                                                                             (4)
               value = .13 ซึ่งไม่มีนัยส าคัญทางสถิติเช่นกัน
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140