Page 138 - kpi19903
P. 138
110
7.7 อภิปรำยผลกำรวิจัยและข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวแทนความคิดทางการเมืองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวเลือกในการเลือกตั้ง
แสดงให้เห็นว่าคนไทยจะตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนความคิด
ทางการเมืองของตน อันเป็นไปตามทฤษฎีอัตลักษณ์ทางสังคมซึ่งท าให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน เกิดอัต
ลักษณ์และความมั่นใจในตัวตนของตน อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่หากมีโอกาสอ านวยและมีอิสระเสรีภาพใน
การแสดงพฤติกรรมพอสมควรก็อยากที่จะแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความคิดของตน การได้แสดงพฤติกรรม
ตามที่ตนคิดนอกจากจะเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในตน เสริมสร้างอัตลักษณ์ของตนเองแล้ว ยังท าให้เกิดการ
จัดประเภททางสังคมอันเป็นการแสดงออกถึงความเป็นคนในกลุ่ม (in-group) หรือความเป็นพรรคพวกเดียวกันอีก
ด้วย 2) สถานการณ์ที่อ านวยให้แสดงพฤติกรรมออกมาให้ตรงกับที่ตนเองคิด คือ ความคาดหวังในผลกรรมว่าสิ่งที่
ตนท าพฤติกรรมไปจะได้ผลดังที่ใจปรารถนา ในกรณีนี้ความสัมพันธ์ระหว่างการมีตัวแทนความคิดทางการเมืองกับ
ตัวเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งจะมีความสัมพันธ์ที่สูงกว่าก็ต่อเมื่อมีความคาดหวังว่าผู้สมัครที่ตนเลือกนั้นจะ
ชนะ และมีค่าต่ ากว่าเมื่อไม่แน่ใจหรือคิดว่าจะไม่ชนะการเลือกตั้ง
ค าถามน าการวิจัยที่ว่าคนไทยเลือกคนที่มีความคิดทางการเมืองตรงกับตนเป็นตัวแทนความคิดทาง
การเมืองหรือเลือกคนที่จะชนะ หรือเลือกคนเป็นตัวแทนความคิดทางการเมืองและมีแนวโน้มจะชนะด้วย จึงตอบ
ได้อย่างชัดเจนว่า “คนไทยจะเลือกคนที่เป็นตัวแทนความคิดทางการเมืองของตนและมีแนวโน้มว่าจะชนะด้วย”
ส าหรับคนไทยนั้น อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องส าคัญ แต่ชัยชนะทางการเมืองนั้นส าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
และอาจจะส าคัญมากกว่าด้วยซ้ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุดมการณ์ทางการเมืองจะกลายเป็นการเสียของไป
เหตุผลที่ชัยชนะทางการเมืองนั้นส าคัญส าหรับประชาชนนั้น อาจจะมีสาเหตุเนื่องมาจากการได้รับชัยชนะทาง
การเมือง ท าให้สามารถเข้าสู่อ านาจรัฐ เมื่อมีอ านาจรัฐก็อาจจะด าเนินนโยบายสาธารณะที่สร้างอรรถประโยชน์
ให้กับฐานคะแนนเสียงของตนอันเป็นไปตามกลไกของเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมืองและการเลือกตั้ง (Downs,
1957a) ดังนั้นหากเป็นไปได้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเองก็อยากจะเลือกผู้สมัครที่เป็นตัวแทนความคิดทาง
การเมืองของตน แต่ในขณะเดียวกันก็อยากให้คนที่ตนชื่นชอบนั้นชนะการเลือกตั้งด้วย เพื่อให้ตนเองมีโอกาสที่จะ
ได้รับอรรถประโยชน์ทางการเมืองสูงสุดเท่าที่จะท าได้เช่นกัน
นอกจากนี้การเกิด swing voters นั้นน่าจะเกิดจากความไม่เชื่อมั่นหรือไม่แน่ใจว่าจะชนะเพราะกลัวเสีย
ของนั้นมีอยู่จริงในการเลือกตั้งแบบไทย ดังจะสังเกตได้ว่าตัวอย่างกลุ่มนี้มีตัวแทนความคิดทางการเมืองเป็นพรรค
อื่นๆ/ไม่มีค่อนข้างสูงมาก
ทั้งนี้ความคาดหวังที่ผู้สมัครจะชนะเป็นมโนทัศน์ที่ใกล้เคียงกับ Outcome expectation ตามแนวคิดของ
แบนดูราในทฤษฎีปัญญาสังคม และจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความคาดหวังดังกล่าวให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่น่า