Page 141 - kpi19903
P. 141
113
ค าถามน าการวิจัยที่สาม: พรรคการเมืองพรรคใดสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้งสส. ระบบแบ่ง
เขต/ระบบบัญชีรายชื่อได้ดีกว่ากัน
มีความเชื่อกันว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเดียวที่ไม่ได้เป็นพรรคหัวหน้าตั้ง ไม่ได้เป็นพรรค
เฉพาะกิจ และมีความเป็นสถาบันทางการเมืองสืบทอดมายาวนาน หากเป็นเช่นนั้นจริง พรรคประชาธิปัตย์ก็ควร
สามารถรักษาฐานเสียงทางการเมืองในเขตเลือกตั้งของตนไว้ได้ดีกว่า และค่าสหสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้งใน
อดีตและผลการเลือกตั้งในปัจจุบันของพรรคประชาธิปัตย์ควรจะต้องมีค่าสูงกว่าพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นใน
ภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทย พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคอื่น ๆ ทั้งหมด
ค าถามน าการวิจัยที่สี่: พรรคการเมืองสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตได้ดีกว่า
การเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อได้หรือไม่?
การเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองน่าจะมีการดูแลและผูกพันกับประชาชนในพื้นที่มากกว่าในกรณีการ
เลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ มีระบบหัวคะแนนเป็นหมุดเชื่อมระหว่างนักการเมืองกับ
ประชาชนในพื้นที่ (อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ et al., 2559) นอกจากนี้การเมืองในชีวิตประจ าวัน (Everyday politics
life) อันเป็นการสร้างสายสัมพันธ์และระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่ของ ส.ส. (Walker, 2008) น่าจะท าให้การรักษาฐาน
เสียงการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบแบ่งเขตท าได้ดีกว่าในระบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อ ดังนั้นค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง
ผลการเลือกตั้งในอดีตและผลการเลือกตั้งล่าสุดของ ส.ส. ระบบแบ่งเขตน่าจะมีค่าสูงกว่าระบบสัดส่วนหรือระบบ
บัญชีรายชื่อ
ค าถามน าการวิจัยที่ห้า: ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต/ระบบบัญชีรายชื่อของไทยมีการแบ่งขั้วทาง
การเมืองหรือไม่
ในรอบสิบปีที่ผ่านมา มีความเชื่อกันว่าการเมืองไทยมีการแบ่งขั้ว (Political polarization) อย่างชัดเจน
เช่น เป็นฝ่ายที่สนับสนุนระบอบทักษิณหรือฝ่ายที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ดังนั้นหากเขตเลือกตั้งใดเลือกขั้วหนึ่งก็จะ
ไม่เลือกอีกขั้วหนึ่ง เช่น ร้อยละการเลือกพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งปี 2548 และร้อยละการเลือกพรรคพลัง
ประชาชนในปี 2550 น่าจะสัมพันธ์ทางบวกกับร้อยละการเลือกพรรคเพื่อไทยในปี 2554 แต่น่าจะสัมพันธ์ทางลบ
กับร้อยละการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2554 และในทางกลับกันร้อยละการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในปี
2548 และ 2550 น่าจะสัมพันธ์ทางบวกกับร้อยละการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2554 แต่จะสัมพันธ์ทางลบกับ
ร้อยละการเลือกพรรคเพื่อไทยในปี 2554 หากมีการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจนทั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบ
แบ่งเขตและระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ
ค าถามน าการวิจัยที่หก: การที่พรรคการเมืองมีฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต/บัญชีรายชื่อ
จะช่วยให้สามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ/แบ่งเขตได้หรือไม่
ทั้งนี้ฐานเสียงไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ/แบ่งเขต น่าจะสามารถตีแผ่ขยายเป็น
การทั่วไปจากการเลือกตั้งแบบหนึ่งไปสู่การเลือกตั้งอีกแบบหนึ่งได้ ตามหลักการขยายความเป็นทั่วไปของสิ่งเร้า