Page 142 - kpi19903
P. 142
114
(Stimulus generalization) ซึ่งมีทั้งในทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Operant conditioning) (Skinner,
1953) และการเรียนรู้แบบคลาสสิก (Classical conditioning) (Rescorla & Wagner, 1972)
ค าถามน าการวิจัยที่เจ็ด: พฤติกรรมบัตรเสีย การไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง และการไม่ไปใช้สิทธิ
เลือกตั้งจะเกิดขึ้นซ้ าในเขตเลือกตั้งเดิมหรือไม่
ทั้งนี้เขตเลือกตั้งที่มีบัตรเสียมากคือเขตเลือกตั้งที่ประชากรอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยไม่สูง เป็นพื้นที่
ชนบทหรือชายขอบ ท าให้การอ่านออกเขียนได้หรือการศึกษาเป็นอุปสรรคต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในขณะ
ที่เขตในเมือง มีรายได้และการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะมีร้อยละ No Vote และ Vote No สูงกว่าการที่
พฤติกรรมการเลือกตั้งเหล่านี้มีโอกาสเกิดซ้ ามีค่อนข้างสูงเพราะการเปลี่ยนสถานะทางสังคมเศรษฐกิจอันได้แก่
รายได้ การอ่านออกเขียนได้ ระดับการศึกษา ในแต่ละพื้นที่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาพอสมควร และพอคาดได้ว่าเมื่อ
เวลาผ่านไปค่าสหสัมพันธ์เหล่านี้จะลดลง เช่น ค่าสหสัมพันธ์ของร้อยละบัตรเสียในการเลือกตั้งในปี 2548 กับ ร้อย
ละบัตรเสียของการเลือกตั้งในปี 2554 น่าจะมีค่าต่ ากว่าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างร้อยละบัตรเสียในการเลือกตั้งปี
2550 กับปี 2554 เป็นต้น
การวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกตั้งในบทนี้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ตามหัวข้อ 3.4 การวิเคราะห์
พยากรณ์ผลการเลือกตั้งระดับเขตพื้นที่ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ ที่ได้อธิบายไปแล้วในบทที่ 3 ซึ่งจะได้
เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายด้วยด้วยวิธีก าลังสองน้อยสุด (Ordinary least square: OLS)
ซึ่งไม่ได้ค านึงถึงสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ มีตัวแปรตาม คือ ผลการเลือกตั้งล่าสุด และมีตัวแปรต้น คือ ผลการเลือกตั้งใน
อดีต ส าหรับการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่จะมีตัวแปรต้นอีกหนึ่งตัว คือ ค่าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ซึ่งค านวณจาก
Spatial error โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนคูณกับน้ าหนักถ่วงเชิงพื้นที่ ทั้งนี้สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของผลการเลือกตั้ง
เป็นการวิเคราะห์เพื่อตอบค าถามน าการวิจัยที่ว่าพรรคการเมืองมีฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. หรือไม่ ซึ่งอยู่ในบท
ที่ 13 สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของผลการเลือกตั้ง ซึ่งคาดได้ว่าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่มีส่วนผลักดันให้ค่าสหสัมพันธ์
ระหว่างผลการเลือกตั้งในอดีตกับล่าสุดมีค่าสหสัมพันธ์ปลอม (Spurious correlation) ได้ หากไม่ได้ควบคุมหรือ
น าออกไป (partial out) ด้วยการน าเข้ามาในการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ เมื่อพิจารณาค่า
สัมประสิทธิ์มาตรฐานจากการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่แล้วค่าสหสัมพันธ์น่าจะลดลงจากการวิเคราะห์ด้วยการ
วิเคราะห์ถดถอย OLS และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย
การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่มีความจ าเป็นต้องรวมเขตเลือกตั้งบางเขตหรือการแบ่งเขตเลือกตั้งบางเขต
โดยยึดเขตเลือกตั้งในปี 2554 ซึ่งผลการเลือกตั้งเป็นตัวแปรตามเป็นหลัก ทั้งนี้การรวมเขตนั้นไม่ได้ยุ่งยาก
เนื่องจาก กกต. เลือกใช้ขอบเขตพื้นที่เลือกตั้งเดิมแทบทั้งหมดมารวมกันหรือแยกออกจากกัน ท าให้การรวมหรือ
ยุบเขตเลือกตั้งให้ตรงกันท าได้ไม่ยากแต่จ าเป็นต้องท าเพื่อให้วิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยท าได้เนื่องจาก
ต้องมีหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of analysis) ที่จับคู่กันได้