Page 144 - kpi19903
P. 144
116
8.1.1 ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ในปี 2548 2550 และ 2554
การเลือกตั้งปี 2548 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เนื่องจากนายกรัฐมนตรี นาย ทักษิณ
ชินวัตร ด ารงต าแหน่งนายกรัฐมนตรีครบวาระ 4 ปี และต้องพ้นจากต าแหน่งตามวาระ การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้น
เป็นครั้งที่ 2 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ในปีนี้รัฐธรรมนูญก าหนดให้มี ส.ส. ทั้งสิ้น จ านวน 500 คน
แบ่งเป็น แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จ านวน 400 คน เขตละ 1 คน และแบบบัญชีรายชื่อ จ านวน 100 คน ใช้บัตร
เลือกตั้งสองใบ ผลจากการเลือกตั้งครั้งนี้ มีเพียง 4 พรรคการเมือง ได้ที่นั่งในสภา พรรคการเมืองขนาดใหญ่อย่าง
พรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่งไป ส.ส. ทั้งหมด 377 และ 96 ที่นั่ง ตามล าดับ เป็นที่สังเกตว่า
พรรคไทยรักไทย ซึ่งได้ที่นั่ง ส.ส. มาเป็นอันดับที่หนึ่งมีจ านวนที่นั่งทิ้งห่างจากพรรคที่ได้คะแนนรองลงมาอย่าง
พรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างมาก พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน
ได้ที่นั่งไป 25 และ 2 ที่นั่ง ตามล าดับ จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง (มนตรี เจนวิทย์การ, 2554) และเป็นครั้งแรกที่พรรค
การเมืองได้รับเลือกตั้งโดยได้คะแนนเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย (พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้ง
จ านวน 377 คนจากจ านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คนหรือประมาณร้อยละ 75) จนกระทั่งสามารถจัดตั้ง
รัฐบาลพรรคเดียวได้ (ฐากูร จุลินทร, 2557; ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2554a, 2554b)
เมื่อน าผลการเลือกตั้งแสดงลงบนแผนที่ดังรูปที่ 8.1 ด้านซ้ายสีแดง คือ เขต เลือกตั้งที่พรรคไทยรักไทยได้
คะแนนไปอย่างท่วมท้นในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
เกือบทั้งหมด ในขณะที่สีฟ้า คือ พื้นที่เขตเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งจะอยู่ในภาคใต้เท่านั้น
พรรคชาติไทยได้รับคะแนนจากภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบางเขตเลือกตั้ง และพรรคมหาชน ได้
คะแนนเพียงน้อยนิดจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อมีเพียงพรรคการเมือง
สองพรรคใหญ่ นั่นก็คือพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ได้รับเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะ
จากทุกภูมิภาคยกเว้นจังหวัดตราด และภาคใต้ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะดังรูปที่ 8.1
ด้านขวา
การเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มีสาเหตุมาจากรัฐประหารยึดอ านาจรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.
2549 โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 เมษายน 2549 แล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญมี
ค าวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้งดังกล่าวเนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ครั้ง
แรกทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยเช่นกันที่การยุบสภาผู้แทนราษฎรมีสาเหตุมาจากการชุมนุมเรียกร้องทาง
การเมือง โดยข้อความบางส่วนที่ระบุเหตุผลของการยุบสภาในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549
คือ “ไม่อาจแก้ไขปัญหาและความคิดเห็นพื้นฐานที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องกับรัฐบาล ฯลฯ ซึ่ง
ทางออกในระบอบประชาธิปไตยที่เคยปฏิบัติมาในนานาประเทศ และแม้แต่ประเทศไทยคือการคืนอ านาจการ
ตัดสินใจทางการเมืองกลับไปสู่ประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร” (ฐากูร จุลินทร, 2557)