Page 130 - kpi19903
P. 130

103



                       ตามที่ทฤษฎีอัตลักษณ์ทางสังคมได้น าเสนอว่า เราจะพยายามสร้างเสริมอัตลักษณ์ตนให้สอดคล้องกับ
               ความคิดและสร้างความเป็นพวกเดียวกัน (in-group) แต่การที่จะท าเช่นนั้นได้ เราต้องมีความมั่นใจและ

               คาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นเสียก่อนตามทฤษฎีปัญญาสังคม จึงจะให้เกิดพฤติกรรมตามสอดคล้องกับความคิด

               ของเราหรืออัตลักษณ์ จึงสามารถตั้งสมมุติฐานที่ 2 และกรอบแนวคิดการวิจัย   ดังรูปที่ 7.4 ดังนี้
                       H2: ถ้ามีความคาดหวังที่ผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งจะท าให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนความคิดทาง

                           การเมืองกับตัวเลือกในการเลือกตั้งสูงขึ้น



                                   ตัวแทนความคิด                        ตัวเลือกในการ
                                     ทางการเมือง                          เลือกตั้ง



                                                  ความคาดหวังที่ผู้สมัคร
                                                    จะชนะเลือกตั้ง

                 รูปที่ 7.4 กรอบแนวคิดการศึกษาความคาดหวังที่ผู้สมัครจะชนะเลือกตั้งก ากับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน

                                  ความคิดทางการเมืองและตัวเลือกในการเลือกตั้งในประเทศไทย


               7.5 วิธีกำรศึกษำ


                       ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้รับความอนุเคราะห์ชุดข้อมูลการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนชาวไทยต่อ

               การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ซึ่งเก็บข้อมูลก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.
               2554 ส ารวจโดยสถาบันพระปกเกล้าและส านักงานสถิติแห่งชาติใน พ.ศ. 2554 มีตัวอย่างทั้งหมด 1,500 คน

               การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มครัวเรือนแบบมีระบบ (Systematic random sampling) โดยมีลักษณะของตัวอย่าง

               ดังนี้
                       ตัวอย่างเป็นชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน อายุของตัวอย่างอยู่ในช่วง 41-60 ปี เกือบครึ่งของ

               ตัวอย่างทั้งหมด (49.90%) และมีอายุอยู่ในช่วง 23 - 40 และอายุมากกว่า 60 ขึ้นไป มีจ านวนใกล้เคียงกัน

               ด้านการศึกษาของตัวอย่างอยู่ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่ามากที่สุด (62.20%) ระดับมัธยมศึกษา ปวช.
               ปวส. หรือเทียบเท่า (23.4%) ระดับปริญญาตรี (8.60%) อาชีพของตัวอย่างเป็นเกษตรกรมากที่สุด (44.53%)

               ส่วนมากมีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 10,000 บาท (54.20%) ซึ่งใกล้เคียงกับรายงานสถิติประจ าปีประเทศไทย

               (ส านักสถิติพยากรณ์ ส านักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2555) ทั้งระดับ
               การศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยมีลักษณะของกลุ่มตัวอย่างดังที่ได้อธิบายไปแล้วในบทที่ 6 ในส่วนที่ 6.5.1


                       7.5.1 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

                       ตัวแทนควำมคิดทำงกำรเมือง วัดจากค าถาม “ในความคิดเห็นของท่านที่ผ่านมา มีพรรคการเมืองใด

               หรือไม่ที่เป็น “ตัวแทน” ความคิดเห็นของท่านได้เป็นอย่างดี” ซึ่งมีค าตอบเป็น ประชาธิปัตย์, เพื่อไทย และ
               อื่นๆ /ไม่มี เป็นตัวแปรอิสระ
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135