Page 128 - kpi19903
P. 128

101



               ของอัตลักษณ์ทางสังคมที่มีต่อการเมืองจะยิ่งทวีความส าคัญต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรค
               การเมืองที่จะลงคะแนนเสียงให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงตั้งสมมติฐานการวิจัยดังนี้

                       H1: ตัวแทนความคิดทางการเมืองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวเลือกในการเลือกตั้ง


                       7.4.4 ทฤษฎีปัญญาสังคม (Social cognitive theory)

                       เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social learning theory) โดยทฤษฎีปัญญา

               สังคมได้อธิบายว่ากลไกการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอิทธิพลส่วนบุคคล
               อิทธิพลจากพฤติกรรมและอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยคนเราจะตีความผลลัพธ์ของพฤติกรรมของ

               ตนเองเทียบกับสิ่งแวดล้อมและปัจจัยส่วนบุคคลแล้วไปพิจารณาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงน าพฤติกรรมที่

               แสดงไปแล้วกลับมาเปรียบเทียบด้วย เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ซึ่ง Bandura (1986) ได้สรุป
               เป็นความสัมพันธ์แบบมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน 3 ทาง (Triadic reciprocity) ไว้ดังรูปที่ 7.1

                                                 Behavioral Factors




                                 Personal Factors                  Environmental Factors

                           รูปที่ 7.1 ความสัมพันธ์แบบมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน 3 ทาง (Triadic reciprocity)



                       ในทฤษฎีปัญญาสังคมได้ให้ความส าคัญกับแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเกิดขึ้นใน
               สภาพแวดล้อมทางสังคม คนเราจะได้รับความรู้ในเรื่องของกฎเกณฑ์ ทักษะ กลยุทธ์ ความเชื่อ และ  เจตคติ

               โดยการสังเกตผู้อื่น นอกจากนี้บุคคลยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความเหมาะสมของพฤติกรรมด้วยการ

               สังเกตรูปแบบและผลของพฤติกรรมนั้น และจะแสดงพฤติกรรมความเชื่อของตน โดยค านึงถึงผลลัพธ์ที่คาดว่า
               จะเกิดขึ้นจากการกระท านั้น Bandura จึงได้นิยาม การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficac และ    ความ

               คาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้น (Outcome Expectation) ขึ้น (Albert Bandura, 1978, 1982, 1997)

                       การรับรู้ความสามารถของตนเอง คือ ความรู้เกี่ยวกับตัวของตัวเองของบุคคลและสิ่งที่ตัวเองสามารถ
               ท าได้ เป็นการตัดสินว่า ตัวเองมีสามารถในการกระท าสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ในระดับใด การรับรู้ความสามารถของ

               ตนเองมีผลต่อตัวเลือกที่แต่ละบุคคลจะใช้เวลาเพื่อพยายามท าพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง เพราะคนเรามี

               แนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการท าพฤติกรรมที่ตัวเองคิดว่าท าไม่ได้และชอบที่จะท าในสิ่งที่คิดว่าตัวเองท าได้ดี
                       ส่วนความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นนั้น คือ ความเชื่อว่าพฤติกรรมก่อให้เกิดผลอย่างไร เป็นการตัดสิน

               ว่าผลลัพธ์ใดจะเกิดขึ้นจากการกระท า ในการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมของบุคคลนั้นมีความคาดหวังในผลที่จะ

               เกิดขึ้นอยู่เสมอ ยิ่งมีความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นว่าจะส่งผลดี หรือพึงพอใจมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งแสดง
               พฤติกรรมนั้น แม้คนเราอาจจะรู้เป็นอย่างดีว่าจะต้องท าอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการแต่อาจจะเชื่อ

               ว่าตนเองขาดความสามารถที่จะท าตามนั้นได้จึงตัดสินใจที่จะไม่ลงมือกระท าในทางที่จะไปถึงผลลัพธ์นั้น

               เช่นนั้นแล้วความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นเป็นตัวเชื่อมโยงพฤติกรรมไปถึงผลลัพธ์ ในขณะที่การรับรู้
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133