Page 157 - kpi19903
P. 157
129
ส าหรับผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ผลการเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย (2548) สัมพันธ์กับพรรค
เพื่อไทย (2554) เท่ากับ .80 และผลการเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชน (2550) สัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย (2554)
เท่ากับ .39
ส าหรับผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ ผลการเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย (2548)
สัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย (2554) เท่ากับ .76 และผลการเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชน (2550) สัมพันธ์กับ
พรรคเพื่อไทย (2554) เท่ากับ .83 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วค่อนข้างบอกได้ยากว่าส าหรับพรรคเพื่อไทยนั้นการ
รักษาฐานเสียงทางการเมืองในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตหรือแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อท าได้ดีมากกว่ากัน
หรือไม่ เพราะผลค่อนข้างขัดแย้งกันเอง
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตของพรรคชาติไทย (2550) กับ
พรรคชาติไทยพัฒนา (2554) พบว่ามีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .57 และความสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบ
สัดส่วน/บัญชีรายชื่อของพรรคชาติไทย (2550) กับพรรคชาติไทยพัฒนา (2554) พบว่ามีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .83
ผลการวิเคราะห์นี้ในส่วนของพรรคชาติไทยจึงพบว่าพรรคชาติไทยสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ใน
ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อได้ดีกว่าระบบแบ่งเขต
ดังนั้นค าตอบส าหรับค าถามน าการวิจัยที่สี่ คือ พรรคการเมืองสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส.
ระบบแบ่งเขตได้ดีกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อได้หรือไม่? จึงไม่อาจจะตอบได้ชัดเจนหรือฟันธงลงไป
ได้ว่าพรรคการเมืองสามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบใดได้ดีกว่ากัน
อนึ่งพึงสังเกตว่าหากไม่พิจารณาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่พบว่าเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีแนวโน้มที่จะเลือก
พรรคการเมืองและผู้สมัครคนเดิมพรรคเดิมสูง และมีพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งแบบเดิมในระดับสูงเช่นกัน
เช่นเดียวกับการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ร่วมด้วยก็ยังคงพบความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองอย่างมีนัยส าคัญ
แม้ว่าจะมีขนาดลงลง โดยพบว่าเขตเลือกตั้งที่มีการเลือกผู้สมัครของพรรคในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต /บัญชี
รายชื่อก็มีแนวโน้มสูงที่จะเลือกพรรคการเมืองนั้นทั้งระบบแบ่งเขต/บัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหลัง ค่อนข้าง
สูงตามไปด้วย ผลจากการวิเคราะห์ในส่วนนี้ท าให้ทราบถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งที่เป็นไปในทางเดียวกันในแต่ละปี
และพฤติกรรมการเลือกตั้งยังมีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในระดับสูงในทุกพรรคการเมือง ดังนั้นจึงอนุมานได้ว่า
นักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่เคยชนะในเขตเลือกตั้งไหน ก็ยังคงมีแนวโน้มสูงที่จะชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น ๆ
ต่อไป