Page 159 - kpi19903
P. 159

131



               .53 ตามล าดับ) ในขณะที่ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ (2550) สัมพันธ์ทางลบกับพรรคเพื่อไทย (2554) และ

               สัมพันธ์ทางบวกกับผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ (2554) (r=-.67 & .92 ตามล าดับ)

                       ทั้งนี้ น่าจะตั้งข้อสังเกตได้ว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย (ไทยรัก

               ไทยและพลังประชาชน) มีอยู่อย่างชัดเจน โดยที่ค่าสหสัมพันธ์จะเป็นไปในทางตรงกันข้ามกันและมีความรุนแรงใน

               การแบ่งขั้วทางการเมืองมากกว่าในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ มากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบ

               แบ่งเขต เนื่องจากค่าสหสัมพันธ์มีขนาดมากกว่าทั้งในทางบวกและในทางลบ สาเหตุน่าจะพอจะเห็นได้ชัดจาก

               ค่าเฉลี่ยร้อยละของผลเลือกตั้งในตารางที่ 8.1 ที่ค่าเฉลี่ยของร้อยละของผลการเลือกตั้งในแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ

               มีค่าสูงกว่าแบบแบ่งเขตทั้งของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่

               ประชาชนไม่เลือก ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อจากพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก และอีกส่วนหนึ่งการเลือกตั้ง ส.ส.


               ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่ออาจจะมีเขตเลือกตั้งเป็นทั้งประเทศท าให้มีความเกี่ยวข้องยึดโยงกับประชาชนในแต่ละ
               พื้นที่น้อยกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ซึ่งมีระบบหัวคะแนนท าให้ประชาชนเกิดความเกรงใจเลือกคนที่ตน


               รู้จักมักจี่หรือมีบุญคุณต่อกันหรือชอบพอมากกว่าที่จะลงคะแนนให้พรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบอย่างตรงไปตรงมา

               ซึ่งท าได้โดยสะดวกใจในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อก็เป็นได้


               8.7 กำรที่พรรคกำรเมืองมีฐำนเสียงในกำรเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต/บัญชีรำยชื่อจะช่วยให้สำมำรถรักษำ

               ฐำนเสียงในกำรเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรำยชื่อ/แบ่งเขตได้หรือไม่?
                       ฐานเสียงไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ/แบ่งเขต น่าจะสามารถตีแผ่ขยายเป็นการ

               ทั่วไปจากการเลือกตั้งแบบหนึ่งไปสู่การเลือกตั้งอีกแบบหนึ่งได้ ตามหลักการขยายความเป็นทั่วไปของสิ่งเร้า

               (Stimulus generalization) ซึ่งมีทั้งในทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Operant conditioning) (Skinner,
               1953) และการเรียนรู้แบบคลาสสิก (Classical conditioning) (Rescorla & Wagner, 1972) ดังนั้นการที่พรรค

               การเมืองมีฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต น่าจะช่วยให้สามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส.

               ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ และในทางกลับกันการที่พรรคการเมืองมีฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน/
               บัญชีรายชื่อ น่าจะช่วยให้สามารถรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขตได้เช่นกัน เพื่อที่จะตอบค าถาม

               นี้ต้องมีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์โดยน าผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในปี 2548 และ 2550 มาท านายผลการเลือกตั้ง

               แบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อในปี 2554 และน าผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ ในปี 2548 และ 2550 มา
               ท านายผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในปี 2554 หากผลการเลือกตั้งแบบหนึ่งสามารถแผ่ขยายไปยังการเลือกตั้งอีก

               แบบหนึ่งย่อมสามารถไขว้ไปท านายผลการเลือกตั้งอีกแบบหนึ่งได้ ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเลือกตั้งแบบแบ่ง
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164