Page 175 - kpi19903
P. 175

147



               พรรคชาติไทย และชื่นชอบนายบรรหาร ก็เป็นคนที่ประกอบอาชีพที่ไม่ใช้แรงงานในการท างาน เช่นเดียวกัน ส่วน
               คนที่ประกอบอาชีพใช้แรงงานนั้นมีความคิดที่จะเลือกพรรคมัชฌิมาธิปไตย (อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, 2556a)

                       ความแตกต่างของเศรษฐกิจและสังคม อันได้แก่ รายได้ รายจ่าย การศึกษา สถานภาพการท างาน และ

               อาชีพ น่าจะมีความสัมพันธ์กับผลการเลือกตั้งปี 2554 การศึกษานี้คาดหวังว่าตัวแปรที่กล่าวมานี้จะเป็นตัวบ่งชี้
               พฤติกรรมการเมืองอันเกิดจากความแตกต่างกันของสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่ท าให้

               คนมีวัฒนธรรม ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม และเป้าหมายต่างกัน นอกจากนี้การศึกษาหรือความรู้เป็นลักษณะ

               อีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร การที่คนได้รับการศึกษาในยุคสมัย หรือระบบการศึกษาที่ต่างกันย่อมมี
               ความรู้สึกนึกคิดอุดมการณ์ และความต้องการที่แตกต่างกัน (กิติมา สุรสนธิ, 2541) ซึ่งลักษณะเหล่านี้อาจสะท้อน

               ให้เห็นถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งด้วย เราจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมกับผล

               การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและพฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
                       ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจกับผลการเลือกตั้งซึ่งเป็นการ

               วิเคราะห์ระดับเขตเลือกตั้งน ามาจากสองส่วน

                       ส่วนแรกคือผลการเลือกตั้งของแต่ละเขตเลือกตั้งน ามาจากฐานข้อมูลของส านักงานคณะกรรมการการ
               เลือกตั้ง (ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2554b, 2556)

                       ส่วนที่สอง ข้อมูลปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมาจากฐานข้อมูลการส ารวจระดับชาติน ามาจากส านักงาน

               สถิติแห่งชาติ จากฐานข้อมูลความยากจนและการส ารวจสถานทางสังคมเศรษฐกิจ (ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2554;
               ส านักสถิติพยากรณ์ ส านักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2555)

                       การวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกตั้งในบทนี้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ตามหัวข้อ 3.4 การวิเคราะห์

               พยากรณ์ผลการเลือกตั้งระดับเขตพื้นที่ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ ที่ได้อธิบายไปแล้วในบทที่ 3 ซึ่งจะได้
               เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายด้วยด้วยวิธีก าลังสองน้อยสุด (Ordinary least square: OLS)

               ซึ่งไม่ได้ค านึงถึงสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ มีตัวแปรตามคือผลการเลือกตั้งล่าสุด และมีตัวแปรต้นคือสถานภาพทางสังคม

               เศรษฐกิจอันได้แก่ รายได้ การศึกษา และอาชีพ ส าหรับการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่จะมีตัวแปรต้นอีกหนึ่งตัวคือ
               ค่าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ซึ่งค านวณจาก Spatial error โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนคูณกับน้ าหนักถ่วงเชิงพื้นที่ ทั้งนี้

               เพื่อควบคุมหรือน าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ออกไป (partial out) เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างสถานภาพ

               ทางสังคมเศรษฐกิจกับพฤติกรรมการเลือกตั้งได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
                       การน าเสนอผลการวิจัยจะน าเสนอตามล าดับดังนี้ 10.1 รายได้และรายจ่ายกับผลการเลือกตั้งในระดับ

               พื้นที่ 10.2 อาชีพกับผลการเลือกตั้งในระดับพื้นที่ 10.3 สถานภาพการท างานกับผลการเลือกตั้งในระดับพื้นที่

               10.4 ระดับการศึกษากับผลการเลือกตั้งในระดับพื้นที่ และ 10.5 การเปรียบเทียบปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจกับ
               ผลการเลือกตั้งในระดับบุคคลและระดับเขตเลือกตั้ง
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180