Page 302 - kpi17968
P. 302
291
ขณะเดียวกัน นักสังคมศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ ธีโอดอร์ อาดอร์โน
(Theodor Adorno) และคณะ ก็ทำการศึกษาเรื่องบุคลิกภาพกับการเมืองเช่น
เดียวกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในเรื่องดังกล่าวในปี ค.ศ. 1950 ออกมาเป็น
11
หนังสือชื่อ “The Authoritarian Personality” หรือ “บุคลิกภาพเผด็จการ” โดย
เขาได้พบว่า ครอบครัวในสังคมเยอรมันนั้นมีโครงสร้างที่เป็นเผด็จการ อันส่งผล
ให้ชาวเยอรมันมีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยม ซึ่งอาดอร์โนเชื่อว่า โครงสร้างดัง
กล่าวนี้เองที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของชาวเยอรมัน และส่งผลต่อการสนับสนุน
การเมือง-อคติทางสังคม โดยเฉพาะการเมืองแบบเผด็จการอำนาจนิยม สำหรับ
นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงอย่าง ฮาโรลด์ ลาสแวลล์ (Harold
Lasswell) ก็ศึกษาในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย เขาได้ทำการศึกษาลักษณะของ
บุคลิกภาพของคนที่เป็นประชาธิปไตย (democrats) และพบว่า คนที่มีบุคลิกภาพ
แบบประชาธิปไตยจะมีลักษณะที่เปิดเผยรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
(open ego) มี การเชื่อมโยงผสมผสานทัศนะและคุณค่าต่างๆ (a combination
of value-orientations) และมีความไว้วางใจต่อกันโดยทั่วไป (generalized trust) 12
แต่การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองที่กล่าวได้ว่าเป็นงานชิ้นที่สำคัญ
ที่สุดในช่วงกลางศตวรรษที่ยี่สิบน่าจะได้แก่งานของ เกเบรียล อัลมอนด์ และ
ซิดนีย์ เวอร์บา (Gabriel Almond and Sidney Verba) ในหนังสือชื่อ “The
Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations” และ
13
สำหรับแรงจูงใจหรือเหตุผลในการศึกษาในเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองนี้ อัลมอนด์
และเวอร์บาได้กล่าวไว้ในบทที่หนึ่งของหนังสือดังกล่าวว่า
11 T.W. Adorno and Other s, The Authoritarian Personality (New York: Harper:
1950)
12 “Political Culture” http://www.encyclopedia.com/topic/Political_culture.aspx
13 Gabriel Almond and Sidney Verba, Civic Culture: Political Attitudes and
Democracy in Five Nations (Boston : Little & Brown, 1963). อัลมอนด์อธิบายถึงที่มา
ของความสนใจของเขาในการศึกษาวัฒนธรรมการเมือง โดยย้อนกลับไปในสมัยที่เขายังเป็นนัก
ศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก และเป็นศิษย์ของ ชาร์ลส์ เมอเรียมกับฮาร์โรลด์
ลาสเเวล ดู Gabriel A. Almond, Ventures in Political Science: Narratives and Reflections
(Boulder, COL.: Lynne Rienner: 2002): Chapter 2: “Charles Edward Merriam,” Chapter 3:
“Harold Dwight Lasswell,” Chapter 4: “A Voice from the Chicago School,” pp. 63-108.
การประชุมกลุมยอยที่ 2