Page 307 - kpi17968
P. 307

296




                     แม้ว่า ในความคิดมาร์กซิสม์ช่วงแรกจะวิเคราะห์การครอบงำหรือการมี

               อำนาจนำในทางวัฒนธรรม (cultural domination) นี้ โดยอิงกับชนชั้นทาง
               เศรษฐกิจ แต่ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนไปสู่ชนชั้นทางสังคม โดยกรัมชี่ ชี้ว่า จะต้องไม่
               มองว่าบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ในสังคมเป็นสิ่งที่เป็น “ธรรมชาติ”

               หรือเป็นสิ่งที่ “หลีกเลี่ยงไม่ได้” แต่จะต้องวิพากษ์และสืบค้นถึงแก่นที่มาของ
               วัฒนธรรมดังกล่าวในการครอบงำทางสังคมและนัยในการปลดปล่อยทางสังคม
               ด้วย “อำนาจนำทางวัฒนธรรม” (cultural hegemony) นี้ไม่ได้มีความเป็น

               เอกภาพหรือเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ดำรงอยู่ในลักษณะที่ซับซ้อนตามชั้นต่างๆ ของ
               โครงสร้างทางชนชั้นวัฒนธรรมต่างๆ ที่เป็นวัฒนธรรมนำนี้จะมีเป้าหมายและ
               ตรรกะเฉพาะภายในตัวเอง ซึ่งส่งผลให้สมาชิกกลุ่มต่างๆ มีพฤติกรรมที่มีลักษณะ

               เฉพาะแตกต่างกันไป แต่ก็อยู่ดำรงอยู่ร่วมกันกับชนชั้นหรือกลุ่มอื่นๆ ด้วยในเวลา
               เดียวกัน  และจากการที่แต่ละกลุ่มมีเป้าหมายทางสังคมที่แตกต่างกันไป ชนชั้น
               เหล่านี้จึงสามารถที่จะเกาะรวมกันไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว


               ตั  ย า การ  ก า ปร ยบ   ยบ ั นธรรม า การ ม    ละ

               หลักนิติธรรม   ประ    นกล  มละติน  มริกา  ชิล   ละ า  นตินา


                     อย่างที่ออกตัวไปตั้งแต่ต้นว่า ผมไม่เคยทำวิจัยเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง
               ไทยกับการใช้หลักนิติธรรม แม้ว่าผมจะตกอยู่ภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดและกระชั้น

               ที่ต้องส่งต้นฉบับชิ้นนี้ให้กับทางสถาบันพระปกเกล้าภายในวันอังคารที่ 20
               ตุลาคมที่ผ่านมา ผมก็โชคดีพอที่ไปพบงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ศึกษาในประเด็นที่น่า
               สนใจนี้ งานวิจัยชิ้นนี้คือ Marcelo Bergman, Tax Evasion and the Rule of

               Law in Latin America: The Political Culture of Cheating and
               Compliance in Argentina and Chile. (College Park: Pennsylvania State
               University Press: 2009) หรือ “การเลี่ยงภาษีและหลักนิติธรรมในละตินอเมริกา:

               วัฒนธรรมทางการเมืองของการโกงและการปฏิบัติตามกฎหมายในอาเจนตินา
               และชิลี” แต่ผมก็ต้องขอออกตัวเพิ่มขึ้นไปอีกว่า แม้ว่าจะพบงานวิจัยหรือหนังสือ

               เรื่องนี้ แต่ก็เป็นการพบแต่ “ชื่อ” แต่ไม่พบตัวหนังสือที่น่าสนใจอย่างยิ่งนี้ทั้งในหอ
               สมุดจุฬาฯ และห้องสมุดธรรมศาสตร์ สิ่งที่ผมสามารถเข้าถึงได้ก็คือ บทวิจารณ์







                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312