Page 306 - kpi17968
P. 306

295




                   ความสำคัญและเป็นประโยชน์แก่คนทุกคนในสังคม แต่จริงๆ แล้ว เป็นประโยชน์

                   แต่เฉพาะชนชั้นปกครองเท่านั้น (อุดมการณ์ในลักษณะดังกล่าวนี้ได้ถูกขยาย
                                                                             18
                   ความแตกต่างกันออกไป โดยนักสังคมศาสตร์สายมาร์กซิสต์)  ด้วยเหตุนี้
                   ในการต่อสู้ทางการเมือง จึงจำเป็นต้องต่อสู้ในระดับของวัฒนธรรมและความคิด


                         ในการทำความเข้าใจในประเด็นการต่อสู้ทางวัฒนธรรมนี้ กรัมชี่ ได้ตั้ง
                   ประเด็นสมมุติฐานหลักที่เขาเรียกว่า “การแบ่งแยกทางยุทธศาสตร์” (a strategic

                   distinction) ระหว่าง “war of position” และ “war of manoeuvre” โดย
                   “war of position” เป็นสงครามทางความคิด (intellectual) หรือที่เขาเรียกว่า

                   “สงครามทางวัฒนธรรม” (culture war) ซึ่งบรรดานักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่
                   จุดยืนต่อต้านทุนนิยม---อันได้แก่ ผู้สนับสนุนผู้นำคอมมิวนิสต์ นักวิชาการ
                   ฝ่ายซ้าย (สังคมนิยม) และบรรดาผู้ที่ต้องการโค่นล้มอุดมการณ์ทุนนิยม----
                   จะต้องหาทางที่จะให้ความคิดของพวกเขาเป็นเสียงที่ครอบงำ (dominant voice)

                   ในสื่อมวลชน องค์กรมวลชนต่างๆ และสถานศึกษาเพื่อปฏิบัติการบ่อนทำลายทาง
                   อุดมการณ์ดังกล่าวอย่างแข็งขัน และเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมายได้แล้ว การต่อสู้
                   เชิงจุดยืนทางความคิดนี้จะถูกใช้ไปเพื่อยกระดับจิตสำนึกทางชนชั้น (class

                   consciousness) สอนการวิเคราะห์และทฤษฎีปฏิวัติ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจใน
                   การจัดตั้งองค์กรปฏิวัติ  และเมื่อได้ชัยชนะใน “intellectual war of position”
                   นี้แล้ว ผู้นำคอมมิวนิสต์ก็จะสามารถมีอำนาจทางการเมืองที่จำเป็นและการ

                   สนับสนุนของมวลชนในการเริ่มต้น “สงครามการรบ” (war of maneuver) และ
                   รวมถึงการใช้กำลังอาวุธเข้าล้มล้างทุนนิยม


                      18   ดู Erik Olin Wright, On Classes (London: Verso:1985), pp. 118-119: “Class
                   systems tent to be legitimized by two different sorts of ideologies: one which makes
                   appeals, explicitly or implicitly, to various kinds of rights in order to defend privilege
                   and another which appeals to the general welfare in order to defend privilege. The
                   formal language of rights probably does not pre-date the seventeenth century, but
                   rights-like legitimations have an ancient pedigree. Ideologies defences of feudalism in
                   terms of the divine ordained status of kings are as much as rights defences as the
                   more explicit claims typical of capitalist societies for the ‘natural right’ of people to
                   the fruits of their property so long as the property was obtained without force or
                   fraud.”





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311