Page 301 - kpi17968
P. 301

290




                     แต่ที่กล่าวมาในกรณีของ ฮันติงตัน นั่นคือ ปัญหาที่ว่า ในบางประเทศ

               สถาบันทางการเมืองเปลี่ยนแปลงล่าช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ
               เศรษฐกิจ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของปัญหาก็คืออะไร คือสาเหตุของความล่าช้าหรือ
               ไม่ปรับตัวของสถาบันทางการเมือง? ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่นักรัฐศาสตร์กระแส

               หลักค้นพบจากการหยิบยืมมาจากนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาก็คือ
               “วัฒนธรรม” ในสังคมนั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วัฒนธรรมทางการเมือง”


                     แนวความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองที่ใช้กันอยู่แวดวงวิชาการปัจจุบัน
               เริ่มเกิดขึ้นในราวกลางศตวรรษที่ยี่สิบ โดยวงการสังคมศาสตร์อเมริกัน เนื่องจาก

               ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง นักสังคมศาสตร์มุ่งที่จะตอบปัญหาที่ว่า
               ทำไมในบางสังคม จึงเกิดการปกครองโดยผู้นำเผด็จการ (authoritarianism) และ
               ผู้คนในสังคมนั้นก็ยอมรับและสนับสนุนการปกครองดังกล่าวด้วย ในขณะที่
               ประเทศอื่นสนับสนุนสถาบันทางการเมืองประชาธิปไตย โดยในช่วงก่อนและ

               ระหว่างสงครามนั้นมีนักมานุษยวิทยาอย่าง มาร์กาเร็ต มีด (Margaret Mead)
               และ รู๊ท เบเนดิคท์ (Ruth Benedict) ผู้เป็นนักวิชาการที่สนับสนุนแนวการศึกษา
               เรื่อง “บุคลิกภาพและวัฒนธรรม” (culture and personality) อย่างแข็งขัน 10

               โดยแนวการศึกษาดังกล่าวเชื่อว่า คนในแต่ละสังคมที่แตกต่างกันจะพัฒนาตัวแบบ
               บุคลิกภาพที่แตกต่างกัน และจากตัวแบบบุคลิกภาพนี้เองที่จะช่วยในการอธิบาย
               และทำความเข้าใจสาเหตุที่ประชาชนให้การสนับสนุนสถาบันและโครงการทาง

               การเมืองนั้นได้





                  10    งานดังกล่าวได้แก่ Ruth Benedict, Pattern of Culture (New York: Mentor Book:
               1934); Thai Culture and Behavior: An Unpublished War-Time Study (Ithaca:
               Cornell University, Dept. of Far Eastern Studies: 1943); The Chrysanthemum and
               the Sword: Pattern of Japanese Culture (Rutland, Vt.: Tuttle: 1946). และของ
               Margaret Mead, Coming of Age in Samoa: A Psychological Study of Primitive
               Youth for Western Civilization (New York: Mentor Book: 1929); Cooperation and
               Competitions among Primitive Peoples (Boston : Beacon Press: 1937); From the
               South Seas : Studies of Adolescence and Sex in Primitive Societies (New York:
               M. Morrow and Company: 1939).





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306