Page 297 - kpi17968
P. 297
286
การพัฒนาการทางการเมืองในประเทศเหล่านั้น เริ่มต้นจากการพูดถึงการ
พัฒนาการเมืองหรือทฤษฎีพัฒนาการเมือง ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)
โดยมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์การเมืองของประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาซึ่ง
ส่วนใหญ่เคยเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตก และเพิ่งจะได้รับเอกราชหลัง
5
สงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเหตุนี้ นักรัฐศาสตร์กระแสหลักแนวพัฒนาการทาง
การเมืองบางคนจึงเชื่อว่า พัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจะเกิด
ขึ้นไม่ได้เลย แม้ว่าจะจัดให้มีรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง การเลือกตั้ง ระบบ
เกิดจากการขาดการพัฒนาการเมือง ซึ่งเข้าใจว่าศัพท์คำว่า การพัฒนาการเมือง นี้ คงเลียนแบบ
มาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การใช้ศัพท์ดังกล่าวก็ตามมาด้วยคำถามว่า การพัฒนาการเมือง
คืออะไร ซึ่งนักรัฐศาสตร์ในแขนงพฤติกรรมศาสตร์ต่างก็ตอบไปตามความถนัด ความเชื่อและ
ความเข้าใจของตน บางคนก็พยายามแยกระหว่างคำว่า การพัฒนาการเมืองและการทำให้ทันสมัย
ทางการเมือง จนเกิดคำจำกัดความในแนวความคิดดังกล่าวมากมาย” สืบค้นข้อมูลออนไลน์จาก
www.edu.nrru.ac.th/.../ทฤษฎีการพัฒนาทางการเมือง/ทฤษฎีพัฒนาการเมือง.doc -
5 หนังสือที่เกี่ยวกับการเมืองในประเทศเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นประเทศ
ในโลกที่สาม คือ The Politics of the Developing Areas โดยมี Gabriel A. Almond และ
James S. Coleman เป็นบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยทฤษฎีหยิบยืมมาจากสำนัก
โครงสร้างและหน้าที่ (Structural functional Approach) ของมนุษยวิทยา จากนั้นก็มีตัวอย่าง
การเมืองของภาคต่าง ๆ ในโลก เช่น เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เอเซียใต้ ลาตินอเมริกัน ฯลฯ
โดยใช้กรอบวิเคราะห์ (Analytical Frame Work) อันเดียวกัน เจตนาก็เพื่อจะเปรียบเทียบโดยใช้
กรอบวิเคราะห์หรือกรอบทฤษฎีเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการติดกับรูปแบบ เช่น ประชาธิปไตย
สังคมนิยม ฯลฯ อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้เสนอทฤษฎีการพัฒนาการเมือง เพียงแต่
พยายามวิเคราะห์ศึกษาการเมืองในประเทศกำลังพัฒนาโดยเลี่ยงการใช้รูปแบบการเมืองใน
ลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวการศึกษาที่นิยมทำกัน โดยใช้
หลักประเทศประชาธิปไตยตะวันตก เป็นหลักในการเปรียบเทียบ หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่บุก
เบิกเกี่ยวกับการเมืองประเทศกำลังพัฒนา และการเน้นการศึกษาแบบทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่และ
แนววิเคราะห์พฤติกรรมศาสตร์ ต่อมาได้มีการออกหนังสือทำนองนี้ออกมาเป็นชุด โดยมี
บรรณาธิการสามคน คือ Gabriel Almond, James S. Coleman และ Lucian Pye ใน Little,
Brown Series in comparative Politics ซึ่งมีจุดเน้นต่างๆ เช่น the Civic Culture, Politics and
communication, Aspects of Political Development, Comparative Politics: A
Developmental Approach etc. ซึ่งหนังสือที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการพยายามวิเคราะห์
การเมืองแบบมองที่โครงสร้างและหน้าที่โดยดูการทำงานของส่วนต่างๆ ของระบบการเมือง
ในลักษณะ “Comparative Politics” หรือการเปรียบเทียบระบบการเมืองต่างๆ ของประเทศกำลัง
พัฒนา โดยไม่ติดที่รูปแบบ
การประชุมกลุมยอยที่ 2