Page 295 - kpi17968
P. 295

284




               ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเคยทำวิจัยเกี่ยวกับ “การใช้หลักนิติธรรม”  ด้วย
                                                                               2
               ขณะเดียวกัน ผมก็ได้รับเกียรติจากสถาบันพระปกเกล้าฯ ให้มาพูดในประเด็นนี้
               แทนท่านรองศาสตราจารย์ ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ซึ่งติดภารกิจสำคัญ อย่างไร
               ก็ตาม สิ่งที่ผมสามารถนำเสนอในการอภิปรายนี้ คือ หนึ่ง ที่มาของแนวความคิด

               เรื่อง “วัฒนธรรมทางการเมือง” ในบริบทรัฐศาสตร์ตะวันตก และสอง ตัวอย่าง
               การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมทางการเมืองและหลักนิติธรรมของประเทศชิลี
               และอาเจนตินา สาม ข้อสังเกตของนักวิชาการไทยต่อการศึกษาวัฒนธรรม

               ทางการเมืองตามแนวทางรัฐศาสตร์กระแสหลักตะวันตก และ สี่ ข้อสังเกตต่อ
               “หลักนิติธรรม”: หลักการและเหตุผลของสถาบันพระปกเกล้า โดยผู้เขียนจะขอ
               เริ่มต้นกล่าวถึงที่มาของแนวความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง


                น   าม ิ  ก  ย กับ ั นธรรม า การ ม



                     โดยทั่วไป นักรัฐศาสตร์และนักสังคมศาสตร์มักจะเห็นว่า เมื่อมีการ
               เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมย่อมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หรือ

               วงศ์เทศ บรรณาธิการ, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, (กรุงเทพฯ: มติชน:ตุลาคม 2547);
               นิธิ เอียวศรีวงศ์, วัฒนธรรมทางการเมือง รวมบทความสะท้อนความคิด เกาะติดเนื้อร้ายแห่ง
               วัฒนธรรมที่กำลังลุกลาม, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน: 2549); นิธิ เอียวศรีวงศ์, วัฒนธรรม
               คนอย่างทักษิณ, (กรุงเทพฯ: มติชน: 2549); เกษียร เตชะพีระ, วัฒนธรรมแห่งศีลธรรม
               ทางการเมืองไทย: ข้อสังเกตบางประการ, (นนทบุรี; สถาบันพระปกเกล้า: 2550); นิธิ
               เอียวศรีวงศ์, “วัฒนธรรมทางการเมืองของคนชั้นกลางไทย” (คัดและตัดตอนจากปาฐกถาเรื่อง
               วัฒนธรรมทางการเมืองไทย แสดงที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า เมื่อ
               วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความ รากหญ้าสร้างบ้านคนชั้นกลาง
               สร้างเมือง ทางออกของ “ภาคประชาชน” ในการแสดงจุดร่วมบนเวทีการเมืองยุคใหม่
               (กรุงเทพฯ: มติชน: 2552); นิธิ เอียวศรีวงศ์, ลิงหลอกไพร่, (กรุงเทพฯ; มติชน: 2556).
                   2    ผู้สนใจประเด็น “หลักนิติธรรม” โปรดดู กิตติพงษ์ กิตยารักษ์และคณะ, บนเส้นทางแห่ง
               หลักนิติธรรม, (กรุงเทพฯ: เดือนตุลา: 2540); ประยูร กาญจนดุล, ปาฐกถา “ชุดสิรินธร”
               ครั้งที่ 14 เรื่องนิติธรรมไทย, (กรุงเทพฯ; จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย: 2542); ธานินทร์
               กรัยวิเชียร, หลักนิติธรรม, (กรุงเทพฯ: ธนาเพลส: 2552); คณิต ณ นคร, นิติธรรมอำพราง
               ในนิติศาสตร์ไทย, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน: 2548); เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล, บรรณาธิการ, นิติรัฐ
               นิติธรรม, (กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
               ธรรมศาสตร์: 2553);





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300