Page 299 - kpi17968
P. 299

288




                     แต่กระนั้น ปัญหาที่ยังเกิดขึ้นต่อมาก็คือ ในบางประเทศ แม้ว่าจะมีการ

               เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ผู้คนเริ่มมีรายได้ต่อหัวมากขึ้นและมีการศึกษา
               มากขึ้น แต่กระนั้น พฤติกรรมทางการเมืองโดยรวมกลับมิได้เป็นประชาธิปไตย
               มากขึ้นแต่อย่างไร ไม่สามารถผลักดันให้ระบบการเมืองมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลง

               เป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งได้อย่างที่คาดการณ์ไว้ในทางทฤษฎี หรือไม่ก็
               เปลี่ยนแปลงอย่างล่าช้าจนไม่ทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน
               การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม อันส่งผลให้ประชาชนมีการศึกษา มีการ

               คมนาคมติดต่อรับรู้ข่าวสาร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ประชาชน “รู้มาก ฉลาดมาก
               ขึ้น” และมีการ “เรียกร้องทางการเมืองมากขึ้น” ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องดีสำหรับ
               การพัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่จากการที่สำนักทฤษฎี

               การพัฒนาการเมืองให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพและการรักษา
               เสถียรภาพของสถาบันการเมือง และเมื่อเกิดปัญหาที่สถาบันการเมืองต้องเผชิญ
               กับกระแสเรียกร้องจากประชาชนที่ตื่นตัวมากขึ้นจากการศึกษาและการสื่อสาร

               ที่อาจจะก้าวหน้ากว่าการปรับตัวของสถาบันการเมือง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2511
               นักทฤษฎีพัฒนาการทางการเมืองอย่าง แซมมวล ฮันติงตัน (Samuel Huntington)
               จึงได้เสนอแนะในหนังสือ “Political Order in Changing Societies”  อันโด่งดัง
                                                                           8
               และอื้อฉาวของเขาว่า ในการพัฒนาการเมืองในประเทศด้อยพัฒนานั้น ไม่ควรที่
               จะให้ประชาชนได้รับการศึกษาหรือมีการสื่อสารมากหรือรวดเร็วเกินไป เพราะถ้า
               ประชาชนตื่นตัวเรียกร้อง (demand/inputs) จากรัฐบาลมากและในอัตราเร่งที่

               รวดเร็วเกินกว่าที่รัฐบาลจะสามารถบริหารจัดการหรือตอบสนองได้ (outputs)
               พูดง่ายๆ ก็คือ ประชาชนก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่รัฐบาลจะรับมือได้
               รัฐบาลดังกล่าวก็จะเข้าข่ายไร้ประสิทธิภาพและเสถียรภาพไปทันที อันจะนำมาซึ่ง

               ความล่มสลายของระบบการเมืองทั้งระบบ ซึ่งในขณะนั้น ถ้าระบบการเมืองแบบ

               การอพยพเคลื่อนย้ายระหว่างชนบท-เมือง (rural-urban migration) และ ดู Roy Olton,
               Reviewed work(s): The Stages of Political Development. by A. F. K. Organski in
               Midwest Journal of Political Science, Vol. 10, No. 1 (Feb., 1966), pp. 161-163,
               published by: Midwest Political Science Association, สืบค้นข้อมูลออนไลน์จาก http://
               www.jstor.org/stable/2108799
                   8   ดู Samuel P. Huntington, Political Order in Changing Societies: (New Haven:
               Yale University Press: 1968),





                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304