Page 296 - kpi17968
P. 296
285
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
สังคม ที่เห็นได้ชัดก็ได้แก่ นักสังคมศาสตร์แนวมาร์กซิสม์ (Marxism) ซึ่งเชื่อว่า
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิต ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ
ความสัมพันธ์ทางสังคม จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในที่สุด ในขณะ
ที่นักรัฐศาสตร์กระแสหลักแนวพัฒนาทางการเมือง (political development)
ซึ่งให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นตัวแปรนำ เชื่อว่า เมื่อมี
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือการทำการเมืองให้ทันสมัย (political
3
modernization) ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมตามมา แต่
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ “ประเทศต่างๆ ซึ่งเคยเป็นประเทศในอาณานิคมของ
มหาอำนาจตะวันตกเมื่อได้รับเอกราช ประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ก็ประสบปัญหา
ทางการเมืองต่างๆ มากมาย เกิดการรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งอำนาจกันระหว่าง
เผ่าพันธุ์หรือกลุ่มการเมืองต่างๆ การล้มลุกคลุกคลานของระบบรัฐสภาในระบบ
ประชาธิปไตย พร้อมกับการเข้ายึดอำนาจของทหาร ในรูปของการปฏิวัติ
4
รัฐประหาร” นักรัฐศาสตร์เหล่านี้จึงหันมาวิเคราะห์หาสาเหตุและอุปสรรคของ
3 ดู Lucian W. Pye (1921-2008), An Analytic Aspects of Political Development:
An Analytic Study (Boston: Little, Brown: c1966) ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2509
4 เช่น “นักเศรษฐศาสตร์ก็มองการไร้เสถียรภาพต่าง ๆ ในประเทศเหล่านี้ด้วยการเน้นที่
ตัวแปรทางเศรษฐกิจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาความ
ยากจนและการขาดเทคโนโลยีในการผลิต ทำให้สังคมประสบปัญหาต่างๆ ยากที่จะเกิด
เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นได้ ความเชื่อดังกล่าวนี้ยังครอบคลุมไปถึงสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่
สองด้วยว่าเกิดจากปัญหาหลัก คือ ปัญหาเศรษฐกิจ นักการศึกษาก็มองดูการล้มเหลวของการ
ปกครองแบบประชาธิปไตยว่า มีสาเหตุมาจากการขาดการศึกษา ความโง่เขลาเบาปัญญาของ
ประชากร และการขาดความรู้เรื่องการเมืองและสังคมซึ่งทำให้ไม่สามารถจรรโลงระบบการเมือง
การปกครองแบบอารยะได้ นักสังคมวิทยาก็มองปัญหาดังกล่าวด้วยแว่นสีของตนว่า เกิดจาก
โครงสร้างทางสังคม ช่องว่างระหว่างความรวยความจน โครงสร้างอำนาจอันสืบเนื่องมาจากจารีต
ประเพณี ค่านิยมแบบถืออำนาจและบุคลิกภาพแบบเผด็จการ ฯลฯ นักรัฐศาสตร์นั้น ถ้าจะมองดู
สภาพดังกล่าวมาว่า มีสาเหตุมาจากรัฐธรรมนูญก็พูดไม่สะดวกใจ เพราะหลายประเทศที่ประสบ
ปัญหาการไร้เสถียรภาพทางการเมือง มีรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องรัดกุมทุกประการมีการสร้างสถาบัน
ทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ การใช้หลักการถ่วงดุลอำนาจ การตรวจสอบซึ่งกันและกันของ
สถาบันต่าง ๆ แต่ระบบประชาธิปไตยก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ผลสุดท้ายก็พยายามมองดูว่า
ปรากฏการณ์ความล้มเหลวของการสร้างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยในประเทศด้อยพัฒนา
การประชุมกลุมยอยที่ 2