Page 298 - kpi17968
P. 298

287




                   รัฐสภาขึ้นแล้ว แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจนและขาดการศึกษา ก็ยากที่จะ

                   มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขันได้ นักรัฐศาสตร์บางคนจึงหันไปให้ความ
                   สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมให้เป็นสมัยใหม่เสีย
                   ก่อน เพื่อจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเวลาต่อมา หรืออย่างน้อย

                   การพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะต้องเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนา
                   เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินแล้ว ในประเด็นการ
                   เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จะ

                   พบว่า มีความคล้ายคลึงกับกรอบการอธิบาย ในแบบมาร์กซิสม์ที่ให้ความสำคัญ
                   กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นตัวนำ แต่นักรัฐศาสตร์แนวนี้ไม่เห็นด้วยกับ
                   ลำดับขั้นตอนทางสังคมที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปในประวัติศาสตร์ในแนวของ

                   มาร์กซิสม์  และต้องการฉีกออกไปจากการวิเคราะห์คาดการณ์การเปลี่ยนแปลง
                            6
                   ทางสังคมการเมืองตามแนวมาร์กซิสม์ แต่ยังยืนอยู่บนฐานความเชื่อในเรื่องการ
                   เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นปัจจัยนำ นักรัฐศาสตร์แนวนี้ที่เชื่อว่า

                   การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ก็จะ
                   มุ่งผลักดันให้รัฐบาลออกนโยบายที่ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเศรษฐกิจให้
                   เติบโต โดยหวังว่า ผลที่ออกมาจะทำให้ผู้คนมีความตื่นตัวทางการเมืองและเป็น

                   พลเมืองที่กระตือรือร้นสร้างความเข้มแข็งให้กับระบอบประชาธิปไตยได้ต่อไป
                   โดยไม่จำเป็นที่จะต้องลงเอยเป็นสังคมนิยมตามทฤษฎีมาร์กซิสม์  7

                       6   ดู Abramo Fimo Kenneth Organski, The Stages of Political Development
                   (New York: Alferd A. Knopf: c1967) ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508) และ เอ เอฟ เค
                   ออแกนสกี้, ลำดับขั้นของการพัฒนาการเมือง แปลโดย ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (กรุงเทพฯ:
                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมอบให้พิมพ์จำหน่ายที่ ไทยวัฒนาพานิช: 2517)
                       7   ใน ลำดับขั้นของการพัฒนาการเมือง ออแกนสกี้ ได้แบ่งขั้นตอนของการพัฒนาการ
                   ทางการเมืองภายใต้กระบวนการของการสร้างชาติ (nation buildings) ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
                   คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง “The Politics of Primitive Unification” สอง “The Politics of
                   Industrialization” สาม “The Politics of National Welfare” และสุดท้ายคือ The Politics of
                   Abundance”  ซึ่งในปี พ.ศ. 2508 ออแกนสกี้ยังจัดให้ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนที่หนึ่ง ซึ่ง
                   ขั้นตอนต่อไปก็คือ การพัฒนาการทางการเมืองที่ต้องเน้นไปที่กระบวนการการทำให้เป็น
                   อุตสาหกรรม (industrialization) หลังจากการพังทลายของระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเกษตร
                   แบบดั้งเดิม และอำนาจทางการเมืองในขั้นตอนนี้จะเข้มแข็งได้ก็โดยพลังของการทำสังคมให้ทันสมัย
                   (the forces of modernization) มีการสั่งสมทุน (the forces of capital accumulation) และ





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303