Page 304 - kpi17968
P. 304
293
ทั่วไป เพราะเป็นระบอบที่ส่งเสริมเสรีภาพและการใช้เหตุผลของประชาชน แต่
การณ์ก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่
ในการศึกษาดังกล่าว อัลมอนด์และเวอร์บา ได้ใช้กรอบการศึกษาเรื่อง
บุคลิกภาพประชาธิปไตยของลาสแวลล์ และผสมผสานการใช้ทฤษฎีทาง
สังคมศาสตร์อย่างน้อยสองทฤษฎี ทฤษฎีแรกเป็นทฤษฎีทางสังคมวิทยาของ
ทัลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) ซึ่งโด่งดังมากในวงการวิชาการอเมริกัน
ขณะนั้น ด้วยทฤษฎีดังกล่าวสามารถอธิบายสถาบันที่ก่อให้เกิดระเบียบทางสังคม
ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้ได้ปลูกฝังชุดของบรรทัดฐาน ค่านิยมและทัศนคติที่สอดคล้อง
กัน ซึ่ง พาร์สัน รวมเรียกว่า “วัฒนธรรม” ขณะเดียวกัน ชุดค่านิยมและทัศนคติ
หรือ “วัฒนธรรม” นี้ ก็จะส่งผลในมุมกลับในการช่วยรักษาและจรรโลงสถาบัน
15
ต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมกล่อมเกล่าชุดค่านิยมนั้นไว้อีกทีหนึ่ง ประเด็นสำคัญ
ของการศึกษาเปรียบเทียบประเทศต่างๆ ของอัลมอนด์และเวอร์บา คือ การให้
ความสำคัญต่อบทบาทของค่านิยมเชิงอัตวิสัยและทัศนคติของประชาชนใน
ประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพมั่นคง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ
การพิจารณาตัวแปรเชิงสถาบันพิเศษ (extra-institutional variables) อันได้แก่
บรรทัดฐาน ค่านิยมและทัศนคติ ในการอธิบายผลลัพธ์ทางการเมือง (political
outcomes) ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ก็คือ วัฒนธรรมทางการเมืองนั่นเอง 16
15 In contrast, the so-called behavioral revolution in political science argued that
such accounts neglected extra-institutional variables as sources of social order (a
concern that could be traced back to Montesquieu in the mid-eighteenth century, who
sought external factors—in his case climate—to explain the different forms of law in
history); in Parsons, moreover, critics charged that norms, values, and attitudes were
more often simply assumed as necessary integrative features of social systems rather
than measured empirically (hence the appeal to behaviorism, which in psychology held
observability to be the only relevant critterion for science). ดู “Political Culture” in
nd
International Encyclopedia of the Social Science, 2 edition, http://www.
virginia.edu/sociology/publications/faculty%20articles/OlickArticles/iess.pc.pdf
16 This fit clearly within the behavioral revolution because it turned to extra-
institutional variables (norms, values, and attitudes) to explain political outcomes.
Nonetheless, the work was presented as a study of political culture, defined as the
การประชุมกลุมยอยที่ 2