Page 305 - kpi17968
P. 305
294
และในทำนองเดียวกันกับที่นักรัฐศาสตร์กระแสหลักหันมาอธิบายความล้ม
เหลวของพัฒนาการของประชาธิปไตยในบางประเทศ แม้ว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
สังคมในประเทศดังกล่าวนั้นจะพัฒนาไปสู่ความเป็นสมัยใหม่แล้วก็ตาม หรืออีก
นัยหนึ่งก็คือ ปัญหาของการที่การเมืองไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎประวัติศาสตร์
ตามที่มาร์กซได้วิเคราะห์และพยากรณ์ไว้ นักสังคมศาสตร์สายมาร์กซิสม์จึงหันมา
อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยมุ่งไปที่โครงสร้างส่วนบน (superstructure) และ
ใช้แนวความคิดเรื่องอุดมการณ์และจิตสำนึกจอมปลอม (ideology and false
consciousness) ที่ล้าหลัง แต่ยังคงไว้ซึ่งสถานะของการครองอำนาจนำและการ
ครอบงำ (hegemony and domination) โดยเฉพาะแนวความคิด “อำนาจนำทาง
วัฒนธรรม” (cultural hegemony) ที่ปรากฏในงานของ อันโตนิโอ กรัมชี่
(Antonio Gramsci) โดยกรัมชี่ อธิบายว่า ในสังคมที่มีความหลากหลายทาง
17
วัฒนธรรม (a culturally-diverse society) สังคมนั้นอาจจะถูกปกครองหรือ
ครอบงำโดยชนชั้นทางสังคมใดชนชั้นหนึ่ง และชนชั้นที่มีอำนาจครอบงำเหนือกลุ่ม
อื่นๆ คือ ชนชั้นปกครอง และความคิดต่างๆ ของชนชั้นปกครองจะได้รับการ
ยอมรับเป็นบรรทัดฐานของสังคม และถือเป็นอุดมการณ์ทั่วไป (universal
ideologies) ในสังคมนั้น ทำให้คนทั่วไปในสังคมนั้นเข้าใจว่า อุดมการณ์ดังกล่าวมี
aggregate pattern of subjective political dispositions in the populace, thus incorporating
and, indeed, operationalizing, the Parsonsian concept of culture. On the basis of
extensive survey research, The Civic Culture theorized three basic orientations toward
political institutions and outcomes: parochial, where politics is not differentiated as a
distinct sphere of life and is of relatively little interest; subject, in which individuals
are aware of the political system and its outcomes but are relatively passive; and
participant, where citizens have a strong sense of their role in politics and
responsibility for it. The Civic Culture rated five countries on these qualities, finding
Italy and Mexico to be relatively parochial, Germany to be subject, and the United
States and the United Kingdom to be participant political cultures. ดู “Political Culture”
nd
in International Encyclopedia of the Social Science, 2 edition, http://www.
virginia.edu/sociology/publications/faculty%20articles/OlickArticles/iess.pc.pdf
17 ดู Cultural hegemony Cultural hegemony สืบค้นข้อมูลออนไลน์จากhttp://
en.wikipedia.org/wiki/Antonio_Gramsci#Critique_of_.22economism.22 และ http://
en.wikipedia.org/wiki/Cultural_hegemony
การประชุมกลุมยอยที่ 2