Page 175 - kpi17968
P. 175
164
ไม่ว่าจะจนหรือรวย และหากเอาเม็ดเงินไปหารด้วยรายได้ของคนที่ซื้อ คนจนเมื่อ
หารแล้วสัดส่วนสูงกว่า ถ้าคิดให้ครบทุกด้าน หากขึ้นภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม และ
เงินที่เพิ่มขึ้นมานั้นนำไปใช้กับคนจน เช่น หากขึ้นจาก 7 เป็น 10 จะจ่ายเพิ่มอีก
ประมาณแสนล้าน เงินนี้มาช่วยคนจนได้เยอะมาก แต่สังคมเสียโอกาสมากเพราะ
NGO ต่อต้าน การมีส่วนร่วมอยากให้คิดอย่างรอบด้านเพราะการมีส่วนร่วมจะมี
คุณภาพมากขึ้น
การมีส่วนร่วมเรื่องการศึกษา เราวิพากษ์วิจารณ์กันว่าการศึกษาเราไปไม่ถึง
ไหน เราจะเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องการศึกษาอย่างไร ทางสถาบันวิจัย
เพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ TDRI เคยศึกษาและเสนอว่า เพิ่มระบบความสำนึก
รับผิดชอบ (Accountability system) จะต้องมีใครที่รับผิดชอบถ้าผลการศึกษา
ออกมาไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี และที่ผ่านมาผู้ปกครองไม่มีส่วนร่วมในเรื่องการศึกษา
มากนัก ถ้าจะมีก็อยู่ในกลุ่มที่รวยเช่นกัน
ทางออกสำหรับนโยบายการคลังที่ไม่ลดความเหลื่อมล้ำ หากมาจากภาษี
ก็ต้องแก้ที่ภาษี ถ้ามาจากการใช้จ่ายต้องแก้ด้านการใช้จ่าย ปัญหามาจากทั้ง
สองฝั่ง แต่ฝั่งรายจ่ายหนักกว่า ฝั่งภาษีแม้จะมีคนรวยที่ยังเสียภาษีน้อยอยู่ แต่
ภาษีต่างๆ คนรวยก็ยังเป็นคนรับภาระอยู่ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) หากจะต้อง
เพิ่มก็อาจจะมีภาษีมรดก ซึ่งบังคับใช้แล้ว แต่ยังเก็บแบบเกรงใจมาก รวมถึงภาษี
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีศักยภาพลดความเหลื่อมล้ำได้มาก แต่ในขณะเดียวกัน
ก็ถูกต่อต้านมาก เป็นตัวอย่างของความบิดเบี้ยวของการมีส่วนร่วมในการกำหนด
นโยบายสาธารณะ คือไม่ว่าจะอย่างไรช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้แน่นอน แต่เมื่อมี
การผลักดันก็จะมีข่าวออกมาว่าภาษีนี้กระทบคนจนและคนชั้นกลาง มีข้อสังเกตว่า
ปัจจุบันนี้ จะถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการมีส่วนร่วมในกระบวนการสาธารณะโดย
คนรวยหรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมต้องเรียนรู้
ฝั่งรายจ่ายมีปัญหามากกว่า หากไปดูเรื่องรายจ่ายรัฐบาลหลักๆ แล้ว
ก็ไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำมากนัก หากไปดูตัวอย่างประเทศอื่นลดความ
เหลื่อมล้ำได้มาก หากเป็นเรื่องของสวัสดิการแบบที่เรียกว่า social protection
ประเทศเหล่านี้ใช้จ่ายเรื่องนี้เยอะมาก ไทยใช้จ่ายเรื่องนี้น้อยมาก แม้จะเทียบ
การประชุมกลุมยอยที่ 1