Page 176 - kpi17968
P. 176
165
ประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ จีน เป็นต้น แล้วทำไมเราไม่ใช้จ่ายเรื่องนี้
ซึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องโครงสร้างอำนาจ
ส่วนเรื่องการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย มีเรื่องประชานิยม
แพร่หลายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนโยบาย
ประชานิยมมากว่าใช้เพื่อคะแนนเสียง แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นการใช้จ่ายของ
ภาครัฐที่ไปสู่รากหญ้ามากขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนหน้านั้น นโยบายประชานิยมจึง
เป็นเรื่องที่ไม่เลวร้ายมากนัก ดังนั้น สิ่งที่ไม่ควรทำ คือ การปฏิเสธสิทธิและความ
ต้องการของรากหญ้าเพียงเพราะไม่ชอบประชานิยม และไม่ควรไปเรียกร้องให้
รากหญ้าปรับตัวหรือรับผิดชอบ แต่ควรเสนอทางเลือกที่ดีกว่าซึ่งตอบโจทย์
รากหญ้าได้เหมือนกัน
การออกแบบ สวัสดิการแบบ social protection หากออกแบบดีๆ จะตอบ
โจทย์สังคมและรากหญ้าได้ และไม่เข้าสู่วงจรประชานิยม มีปัญหาว่าจะทำ
สวัสดิการสังคมให้ดีเพื่อทดแทนประชานิยมได้อย่างไร
แนวคิดแรก ต้องทำฐานเสียงที่เป็น right base ประชานิยม ไม่ใช่ right
base เป้าหมายที่ควรทำสำหรับสังคมไทยตอนนี้คือออกแบบเพื่อตัดขาดวงจร
ความยากจน ความเหลื่อมล้ำจากรุ่นสู่รุ่น หากระบบเหลื่อมล้ำก็จะส่งทอดความ
จนจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง เช่น มีคำกล่าวว่าระบบการศึกษาของไทยเป็นระบบที่
ส่งผ่านความเหลื่อมล้ำจากรุ่นสู่รุ่น หากออกแบบให้ดี เช่น ก่อนอื่นควรมุ่งไปที่เด็ก
ดูแลเด็ก เด็กมีศักยภาพมาก เราต้องเชื่อว่าเด็กทุกคนเกิดมาเท่ากัน ดังนั้นต้องไม่
ปฏิเสธสิทธิในการพัฒนาตนเองของเด็กเล็ก ไม่ว่าจะเกิดเป็นลูกของใครจะช่วย
ตัดขาดความยากจนได้ เมื่อพูดถึงคำว่าสวัสดิการสังคมคนจะกลัวคำว่า
“รัฐสวัสดิการ” หลายคนกังวลเพราะมีราคาแพงและอาจแพงกว่าประชานิยม
คิดว่าต้องผสมผสานจากแนวคิดจากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอนของอาจารย์ป๋วย
อึ้งภากรณ์ เป็นแนวคิดเริ่มต้น ซึ่งมีหลายประเทศทำตามแต่ต้องระวังมิฉะนั้น
จะนำไปสู่ปัญหา
แนวคิดที่สองคือ เน้นการลงทุนทางสังคม เช่น การดูแลเด็กและเยาวชน
จะช่วยตัดขาดความยากจนจากรุ่นสู่รุ่นได้ โดยแบ่งบทบาทให้ทุกภาคส่วน ดังนั้น
การประชุมกลุมยอยที่ 1