Page 174 - kpi17968
P. 174
163
เรา แล้วนำมาคืนเราในรูปของการใช้จ่ายภาครัฐ คำถามคือภาครัฐที่ใช้นโยบาย
การคลังทำหน้าที่ในการลดความเหลื่อมล้ำหรือไม่ ทำหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำ
มากเท่าใด ซึ่งยังไม่มีงานวิจัยเรื่องนี้
เราต้องตั้งคำถามว่า ทำไมนโยบายภาษีของไทยที่ผ่านมาไม่เก็บเงินจาก
คนรวยให้มากขึ้น? นโยบายภาษีและนโยบายการคลังของไทยควรต้องพิจารณาใน
ด้านใด? เคยมีการรับฟังความคิดเห็นว่าด้วยเรื่องภาษีหรือไม่? การขึ้นภาษีต่างๆ
เคยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือไม่? ทั้งที่แต่ละนโยบายที่ออกมา
กระทบเงินหลายแสนล้านและกระทบคนทั่วทั้งประเทศ การขึ้นภาษีดำเนินการที่
กระทรวงการคลังแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีแล้วไปที่สภาผู้แทนราษฎร เราก็ได้
หวังว่าสภาผู้แทนราษฎรจะทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน แต่ตามที่เรา
ทราบหลายเรื่องสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ทำหน้าที่ อีกทั้งบางนโยบายก็ไม่ต้องไป
สภาผู้แทนราษฎร เพียงแต่อาศัยมติคณะรัฐมนตรี หรือกฎหมายที่รองลงมา
ก็กระทบเงินหลายล้านๆ เช่นกัน ดังนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นโยบายการคลัง
ยังไม่ได้ลดความเหลื่อมล้ำ
นโยบายด้านการใช้จ่ายก็คล้ายกัน เช่นว่า รัฐบาลจะตัดถนนคนที่ได้
ประโยชน์คือคนที่มีรถหรือคนรวย นโยบายการศึกษาต้องพิจารณาว่ารายจ่าย
ต่อหัวที่รัฐอุดหนุนสูงสุดที่ระดับอุดมศึกษา คนที่จะเรียนระดับอุดมศึกษาก็ไม่ใช่
คนจน ดังนั้น นโยบายการคลังยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมที่เพียงพอ ซึ่งเราคง
ต้องเริ่มนำมาปรับใช้อาจดูจากกระบวนการมีส่วนร่วมทางสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบ
ในกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น สิ่งที่เราต้องการลำดับแรก คือ คนที่เข้ามามี
ส่วนร่วม ลำดับต่อมาคือ มีส่วนร่วมอย่างได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องแล้ว
ไม่ใช่เข้ามาแบบไม่รู้เรื่องอะไร คนที่เข้าไปมีส่วนร่วมต่อให้ห้องกว้างเพียงใดก็ไม่ได้
เป็นตัวแทนของคนไทยทั้งหมด ดังนั้นจะพิจารณาว่าแต่ละคนต้องการอะไร ก็ไม่
น่าจะเป็นตัวแทนได้ ดังนั้นอาจจะต้องคัดเลือกคนที่ต้องเข้ามาแบบมีความรู้ในเรื่อง
ที่พูดคุยกัน และต้องไม่คิดเฉพาะเรื่องที่กระทบต่อตัวเองเท่านั้นแต่ต้องสามารถ
คิดเรื่องที่กระทบต่อผู้อื่นได้ด้วย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่ NGO ลุกขึ้นมา
คัดค้านเสมอซึ่งเป็นการแสดงความเห็นอย่างรู้ไม่ครบ เหตุผลที่ใช้มาคัดค้าน
เนื่องจากภาษีนี้เป็นภาษีที่เป็นภาระต่อคนจน หากต้องซื้อน้ำ 1 แก้วจ่ายเท่ากัน
การประชุมกลุมยอยที่ 1