Page 169 - kpi17968
P. 169
158
2.3 หลักการการถ่วงดุลในกระบวนการ EIA วันนี้เห็นเป็นรูปธรรมที่
มีการผลักดันทำเป็น community health impact assessment (CHIA) โดย
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติผลักดันทำสิ่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้
ชุมชนได้เรียนรู้ ประเมินสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนตัวเองบนพื้นฐานหลักวิชาการ
แล้วนำข้อมูลนี้ไปถ่วงดุลกับบริษัทที่ปรึกษาอันทำให้โครงการรอบคอบรอบด้าน
มากขึ้น
2.4 การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด EIA เป็นเครื่องมือในการ
ตัดสินใจ ประเมินตามหลักวิชาการว่าจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง มีโอกาสจะเกิด
ผลกระทบอะไรบ้าง แล้วเสนอเครื่องมือลดผลกระทบ สร้าง buffer zone เครื่องมือ
ป้องกัน ติดเครื่องดักจับฝุ่น หัวใจคือต้องปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ปัญหาที่ผ่านมาจากรายงานของสำนักงานตรวจเงิน
แผ่นดิน เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่มี รายงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินชี้ให้เห็นว่า
มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีโครงการเพียง 30% เท่านั้นที่มีเอกสาร
รายงาน หมายความว่า การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดไม่เกิดขึ้น รายงาน
EIA วันนี้เป็นเพียงแค่การทำเอกสารให้ผ่าน แต่การปฏิบัติตามมาตรการลดผล
กระทบสิ่งแวดล้อมไม่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ เห็นว่า ต้องมีการสร้างเครื่องมือใหม่ มีเพียงแค่ EIA ไม่เพียงพอ
สิ่งที่ต่างประเทศใช้เพื่อเดินไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบโจทย์การสร้างสังคมที่
เป็นธรรม เรียกว่า “การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์” (Strategic
environmental assessment: SEA) ซึ่งพิจารณาทั้งมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ
สังคมและเทคโนโลยี ดูว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นสอดคล้องนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ใน 4 มิติหรือไม่ หากจะเรียกให้ถูกต้องเรียกว่า “การประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในระดับยุทธศาสตร์” เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง แก่งเสือเต้นสร้างไม่สร้าง นำมาสู่
ความขัดแย้งในสังคม ดังนั้น EIA จึงเป็นเครื่องมือตัดสินใจระดับโครงการ แต่
ที่มาของปัญหาความขัดแย้งต้องถอยไปพิจารณาถึงแนวคิดนโยบาย ด้วยเหตุนี้
SEA จะเป็นเครื่องมือตอบโจทย์ใน โดย SEA จะตั้งคำถามว่า เรามีทางเลือกหรือ
ทางแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในลุ่มน้ำยมกี่ทาง เอาทุกทางเลือกมาพิจารณา
พิจารณาถึงศักยภาพ ขีดจำกัด และการยอมรับทางสังคม หากพิจารณาดูทาง
เลือกทั้งหมดก่อนจะทำให้เราไม่ตกไปอยู่ในกับดักความขัดแย้งว่าอยู่ฝ่ายหนุนหรือ
การประชุมกลุมยอยที่ 1