Page 173 - kpi17968
P. 173
162
จากการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำหากวัดกันด้วยตัวเลข สังคมไทย
มีความเหลื่อมล้ำสูงติดอันดับโลก ความเหลื่อมล้ำที่สูงชวนให้สงสัยว่าคงไม่ใช่
ความเหลื่อมล้ำที่เป็นปกติ แต่หากเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากความไม่ชอบ
ธรรมในสังคมด้วย หากเราไปประเทศสิงคโปร์และได้คุยกับคนขับแท็กซี่เกี่ยวกับ
เรื่องนี้ เขาบอกว่าในประเทศนี้มีคนรวยกว่าเขามาก แต่หากถามว่ารู้สึกว่ามีความ
ไม่ชอบธรรมในสังคมหรือไม่ เขาตอบว่าไม่แย่ขนาดนั้น เพราะคนรวยๆ ด้วยความ
ขยัน เอาใจใส่ แต่หากถามคำถามแบบนี้กับคนไทย จะได้คำตอบว่า มีคนรวยขึ้น
มาจากความไม่ชอบธรรมจากพวกพ้อง เส้นสาย ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่านโยบาย
สาธารณะด้านเศรษฐกิจมีปัญหาที่โยงไปถึงเรื่องสำคัญคือความเหลื่อมล้ำ ปัจจุบัน
ยังมีความเหลื่อมล้ำสูง แสดงว่าที่ผ่านมาน่าจะมีปัญหามาก
ถ้าหากพิจารณาไปถึงปัญหาในอนาคต จะพบว่ามีปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 สาเหตุ ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
2. การเปลี่ยนแปลงหรือการเร่งตัวของโลกาภิวัตน์
ทั้ง 2 สาเหตุนี้ เป็นข้อได้เปรียบของคนรวย ช่วงหลังๆ คนที่ได้เปรียบคือ
คนที่มีการศึกษาดีและพร้อมใช้เทคโนโลยีนั้น ซึ่งสามารถนำไปทำให้ตนเองร่ำรวย
มากขึ้นโลกาภิวัตน์เปิดโอกาสทำธุรกิจขนาดใหญ่ข้ามชาติ คนที่พร้อมคือคนที่รวย
เป็นนายทุน
อีกประเด็นคือการเปลี่ยนแปลงของทุนทางสังคม ทุนทางสังคมในสังคมไทย
กำลังจะเปลี่ยนหน้าตาไป โดยทุนทางสังคมที่เป็น informal จะลดความสำคัญ
ลงเรื่อยๆ เนื่องจากเราเป็นสังคมผู้สูงอายุ การลดขนาดครอบครัวลง ทำให้ระบบ
เครือญาติลดลง การช่วยเหลือในระบบเก่าๆ เริ่มน้อยลง ในประเทศอื่นเมื่อการ
ช่วยเหลือแบบ informal ลดลง การช่วยเหลือแบบ formal ต้องเข้ามาทดแทน
เช่น กลไกภาครัฐ ชุมชนระดับกลางๆ แต่ตัวละครสำคัญคือรัฐที่ต้องเข้ามาเสริม
ปัญหาของสังคมไทยคือไม่แน่ใจว่าตอนที่การช่วยเหลือแบบ informal หายไป
การช่วยเหลือแบบ formal เข้ามาทันหรือไม่ จึงนำมาซึ่งวิกฤตที่คนแก่และ
คนพิการไร้ที่พึ่งพิง และซ้ำเติมเรื่องความเหลื่อมล้ำให้สูงขึ้นเรื่อยๆ รัฐต้องเข้ามา
ดำเนินการแก้ปัญหาซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น นโยบายการคลัง ภาครัฐเก็บเงินจาก
การประชุมกลุมยอยที่ 1