Page 170 - kpi17968
P. 170
159
ฝ่ายค้าน
การมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะพูดทั้งแง่ตัวโครงการ รวมถึงการออก
กฎหมาย นโยบายและโครงการ ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ คณะกรรมการแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี กรรมการแห่งชาติเรื่องสิ่งแวดล้อม มีทั้ง น้ำแห่งชาติ ประมง
แห่งชาติ ป่าไม้แห่งชาติ ที่ดินแห่งชาติ พลังงานแห่งชาติ ซึ่งมีกรรมการจำนวน
มาก แต่จะทำอย่างไรให้เกิดความโปร่งใส หลักธรรมาภิบาลตั้งอยู่บนพื้นฐาน
หลักนิติธรรมซึ่งมี 2 ส่วน คือ การมีส่วนร่วมทางตรง เช่น การออกเสียง
ประชามติให้เจ้าของอำนาจอธิปไตยใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงในการร่วมตัดสินใจ
การทำประชามติมีทั้งปรึกษาหารือและการทำประชามติแบบผูกพัน โจทย์สำคัญ
ของสังคมไทยคือ มีต้นทุนสูงจากปัญหาความไม่ไว้วางใจในการออกเสียงต้องแก้
ปัญหาตรงนี้ ทั้งนี้ ต่างประเทศได้ก้าวพ้นปัญหานี้แล้ว การออกเสียงประชามติ
ในประเทศเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ได้แก่ การลงประชมติรับหรือไม่รับร่าง
รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550
การตัดสินใจทางตรงโดยการมีตัวแทนเข้าไปร่วมเป็นกรรมการระดับชาติ
โดยต้องมีกระบวนการคัดเลือกอย่างประณีตมากขึ้นซึ่งเป็นทางออกอีกทางหนึ่ง
ที่ผ่านมากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเลือกโดยรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับ
รัฐมนตรี ควรมีการเปลี่ยนแปลงให้การมีส่วนร่วมทางตรงโดยการส่งผู้แทนเข้าไป
ไม่ได้มาจากการคัดโดยฝ่ายการเมือง เช่น เสนอโดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ
โดยสภาพัฒนาการเมืองโดยสภาองค์กรชุมชน ขณะนี้เรามีตัวแทนองค์กรของ
ภาคประชาชนเกิดขึ้นจำนวนมาก และสามารถทำหน้าที่คัดเลือกผู้จะเป็นตัวแทน
เข้าไปนั่งในตัวแทนระดับชาติทำหน้าที่ตัดสินใจทางตรงแบบนี้ได้มากกว่าที่จะ
ให้การเมืองเป็นคนเลือกทางเดียว สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งได้
กรณีการมีส่วนร่วมทางอ้อม เช่น การให้ข้อมูลที่เข้าไปสู่คณะกรรมการ
ระดับชาติไม่ได้มาจากฝ่ายเลขาของคณะกรรมการเพียงอย่างเดียว แต่มาจาก
TDRI สถาบันพระปกเกล้า หรือสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่จะพิจารณาตัดสินใจ
เกี่ยวกับด้านเกษตรก็นำข้อมูลมาจากสภาเกษตรกรซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคเกษตร
โดยตรง โดยนำข้อมูลนี้มาประกอบกับฝ่ายเลขาของคณะกรรมการระดับชาติที่
ต้องทำหน้าที่ตัดสินใจนโยบายระดับชาติ เป็นต้น
การประชุมกลุมยอยที่ 1