Page 166 - kpi17968
P. 166
155
เศรษฐกิจและสังคมทุกระดับ แต่ท้ายที่สุดร่างรัฐธรรมนูญที่เราพยายามทำขึ้นมา
ให้การมีส่วนร่วมของประชาชนถึงขั้นร่วมตัดสินใจยังไม่สามารถสำเร็จได้ อีกทั้ง
ร่างรัฐธรรมนูญที่ตกไปกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับ
นโยบายสาธารณะท้องถิ่นเท่านั้น หากเป็นระดับที่สูงขึ้นมาจะเป็นการแสดงความ
คิดเห็นและนำความเห็นที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจ แต่เจ้าของอำนาจอธิปไตย
โดยตรงไม่สามารถใช้การมีส่วนร่วมตัดสินใจโดยตรงมากไปกว่าที่ผ่านมาได้เหล่านี้
คือปมปัญหา
ก หมาย ก ย กับกระบ นการน ยบาย าธาร ะ
ประเด็นนี้กล่าวถึงหลักนิติธรรมที่จะเป็นข้อวิเคราะห์ 2 ประเด็นคือ
1. หลักนิติธรรม: ในความหมายที่พูดถึง กฎหมายต้องไม่ขัดแย้งกันเอง
กฎหมายต้องทันสมัยและสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม เราเผชิญกับโครงสร้างความขัดแย้งในระบบกฎหมาย
ซึ่งเปรียบได้กับปิรามิดของความขัดแย้ง
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
ไม่สามารถใช้บังคับได้ นี่คือหลักการที่เรายึดถือปฏิบัติในทางทฤษฏี แต่ในทาง
ปฏิบัติ ข้อยกพระราชบัญญัติเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่าง เรามีมากกว่า
50 ฉบับ กฎหมายป่าไม้ ทะเล น้ำ พลังงาน เหมืองแร่ ที่ดิน กฎหมายจำนวน
มากเกิดขึ้นในช่วงปี 2484 – 2500 ต้นๆ การร่างกฎหมายในช่วงนั้นกับ
รัฐธรรมนูญที่ออกมา 50 ปีหลังจากนั้น มีความแตกต่างในเรื่องสถานการณ์และ
ความคิดที่เป็นพื้นฐานความจำเป็นของการทำกฎหมายที่ต่างกันในช่วงเวลา จึงนำ
มาสู่ปัญหาความขัดแย้งที่เรียกว่า “โครงสร้างความขัดแย้งในระบบกฎหมาย”
ชุมชนอ้างถึงสิทธิชุมชน ในมาตรา 66 และ 67 ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ยึดถือ
มาตรา 67 วรรคสอง เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการใช้เครื่องมือ
EHIA ขณะที่หน่วยงานราชการก็ยึดถือกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานในการ
ปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นคดีความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อม
มากมาย ศาลปกครองต้องตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมขึ้น ศาลยุติธรรมก็ต้องมีแผนก
สิ่งแวดล้อม ในงานปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติก็มีข้อเสนอว่า เราจำเป็นต้องมี
การประชุมกลุมยอยที่ 1