Page 177 - kpi17968
P. 177
166
แนวคิดรัฐสวัสดิการคือรัฐทำคนเดียวโดยให้รัฐเก็บภาษีเยอะและเป็นเจ้าของคน
เดียวควรเลิกทำ และเน้นการมีส่วนการให้เข้ามาร่วมกันทำ ร่วมกันใช้จ่ายเงิน
และร่วมกันบริหารจัดการ อีกประเด็นคือ การให้แบบถ้วนหน้ากับการให้แบบ
เฉพาะกลุ่ม เป็นประเด็นที่เถียงกันมานานแล้ว เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุก
โรค บางคนเห็นว่าควรให้แบบถ้วนหน้าแต่บางคนไม่เห็นด้วย เป็นต้น อย่างไรก็ดี
เราควรให้แบบถ้วนหน้าในสวัสดิการที่สำคัญ ซึ่งหากไม่ทำจะทำให้เกิดการตกหล่น
ของคนจน แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญรองลงมาก็อาจให้แบบเฉพาะกลุ่มได้ ไม่จำเป็น
ต้องให้ทุกคน เช่น การให้เงินคนแก่ทุกคนไม่จำเป็น ควรให้เป็นเฉพาะกลุ่ม และ
การที่ให้เงินเด็กเล็กที่เป็นแบบเฉพาะกลุ่มควรสลับไปเป็นการให้แบบถ้วนหน้า
เป็นต้น
สุดท้าย รากเหง้าของปัญหาหลายอย่างมาจากโครงสร้างอำนาจ ส่วนตัว
เชื่อเรื่องแนวทางการลดการกระจุกตัวของอำนาจ โดยต้องดูที่สาระไม่ใช่รูปแบบ
ไม่ใช่ว่าการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยจะช่วยลดการกระจุกตัวของอำนาจ
กรณีนี้หลายประเทศได้พิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่ สิ่งหนึ่งที่ทำง่ายมากคือกระจายไปสู่
ท้องถิ่น หากไปอยู่ที่ท้องถิ่นประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ ประชาชนเข้าร่วมโดย
รู้ว่าร่วมทำอะไรจะเริ่มเป็นประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
การตัดสินใจใช้เงินของรัฐบาลเรื่องนโยบายการคลัง ขาดการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนแม้บางอย่างจะมีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากสภาผู้แทน
ราษฎรเป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ปัญหานี้คงไม่เกิดขึ้น แต่ปัญหาคือ
สภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างแท้จริง ทางผมและหลายๆ คน
กำลังผลักดันเรื่องสถาบันวิเคราะห์งบประมาณการคลังประจำรัฐสภา หรือ
Thai PBO และมีร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะ
รัฐมนตรี Thai PBO จะทำหน้าที่ช่วยเป็นตัวแทนของประชาชนที่ต้องทำหน้าที่
กลั่นกรองเม็ดเงินของรัฐบาล และรัฐบาลสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมืออาชีพมาก
ขึ้นคู่ขนานไปกับการปฏิรูปการเมือง นอกจากนี้ Thai PBO ยังทำหน้าที่เป็นผู้ให้
องค์ความรู้ให้กับสมาชิกรัฐสภา เราหวังว่า หาก Thai PBO ทำหน้าที่แล้วการ
ลุกขึ้นอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาจะอภิปราย ตรงประเด็นมีคุณภาพมากขึ้น
การประชุมกลุมยอยที่ 1