Page 180 - kpi17968
P. 180

169




                   น้อย (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2014) และผู้สูงอายุที่มีฐานะ

                   ยากจน (รัฐสภา, ม.ป.ป.)


                         อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยมีการดำเนินนโยบายสาธารณะเพื่อสร้าง
                   ความยุติธรรมและทั่วถึงมาหลายสิบปี ยังมีปัญหาในการดำเนินนโยบายลักษณะ
                   ดังกล่าวในแง่มุมของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงโครงการช่วยเหลือของ
                   ภาครัฐ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกและโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น

                   สองโครงการที่สะท้อนปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงโครงการและ
                   การช่วยเหลือของรัฐบาลประเทศไทยยังมีปัญหาความยากจนที่กระจุกตัวอยู่ใน

                   ภาคเกษตรกรรม แรงงานนอกระบบ และกลุ่มคนใกล้จน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15.3
                   ของประชากรทั้งประเทศ (สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2556: 60) นอกจากนี้
                   การกระจายรายได้ของประเทศไทยกลับไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดย
                   ประชากรกลุ่มที่ยากจนที่สุดร้อยละ 20 ยังมีสัดส่วนรายได้อยู่ประมาณร้อยละ

                   4.6 ของรายได้ทั้งหมดของคนทั้งประเทศ ขณะที่ประชากรกลุ่มที่ร่ำรวยที่สุด
                   ร้อยละ 20 มีสัดส่วนของรายได้อยู่ประมาณร้อยละ 54 ของรายได้ทั้งหมด หรือ
                   มากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งประเทศ (กอบศักดิ์ ภูตระกุล, 2556: 6) ความ

                   ยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจดังกล่าว นำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน
                   ในโอกาสของการเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะประชากรกลุ่มใหญ่
                   ที่สุดของประเทศสองกลุ่มคือ เกษตรกรและแรงงานนอกระบบนั้นยังไม่ได้รับสิทธิ

                   ประกันสังคมอย่างครบถ้วน ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลฟรีในระบบเบิก
                   จ่ายตรง ไม่สามารถมีหลักประกันรายได้หากถูกเลิกจ้างหรือตั้งครรภ์ (ผาสุก
                   พงศ์ไพจิตร, 2551) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเหล่านี้นำไปสู่ความ

                   รู้สึกว่ามีความไม่เท่าเทียมกันในด้านสถานภาพทางสังคมของคนกลุ่มต่างๆ
                   ที่ชัดเจนมากขึ้น จนกระทั่งคำบางคำ เช่น “ไพร่-อำมาตย์” ซึ่งแต่เดิมไม่ได้ก่อให้
                   เกิดความขัดแย้งในสังคมมากเท่ากับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้ถูกนำไปเป็น

                   วาทกรรมเพื่อสร้างแนวร่วมทางการเมือง (สถาบันพระปกเกล้า, 2556)

                         การศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและแบบแผนของความไม่เท่าเทียมและ

                   ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงการช่วยเหลือภาครัฐมีความสำคัญต่อ
                   กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการและความ






                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 1
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185