Page 183 - kpi17968
P. 183

172




               (2558) ทำการศึกษา เรื่อง “ผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษา

               เทศบาลนครระยอง” พบว่า นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นนโยบายที่มีประโยชน์
               แต่มีปัญหาในด้านความล่าช้าในการจ่ายเงิน มีปัญหาการโอนเงินไม่ตรงกับยอด
               ผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้สูงอายุมีความเห็นว่าควรกำหนดอัตราเบี้ยยังชีพเป็นอัตราเดียว

               คือ 1,000 บาทต่อเดือน สอดคล้องกับผลการศึกษาของระพีพรรณ คำหอมและ
               คณะ (2546 อ้างใน วรพงษ์ บุญเคลือบ, 2549, หน้า 35) ซึ่งได้ทำการศึกษา
               ในหัวข้อ “การประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

               ผู้สูงอายุไทย” และมีข้อค้นพบว่า การบริหารราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์กลาง
               กระบวนการสั่งการจากบนลงล่าง (Top-Down) และการรวมงบประมาณไว้ที่
               ส่วนกลาง ส่งผลให้เกิดปัญหาการกระจายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมีความล่าช้าและ

               ไม่ทั่วถึง นำไปสู่ปัญหาการทำงานระหว่างหน่วยงานจากส่วนกลางและท้องถิ่น
               ปัญหาความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ
               ผู้สูงอายุ และไม่สามารถตอบสนองและเข้าถึงความต้องการของผู้สูงอายุได้

               เพราะไม่ได้มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีความเป็นอยู่ดี และมีความสุข

                       อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งที่น่าสนใจต่อผลการศึกษาในการประเมินผล

               การดำเนินงานโครงการ เช่น สายทิพย์ ภู่ไหมพรหม (2553) ในการศึกษาเรื่อง
               “การประเมินผลการดำเนินงานด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหาร
               ส่วนตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์” พบว่าผู้สูงอายุมีความ

               พึงพอใจอย่างมากต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเนินศาลา
               โดยเฉพาะการบริการการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ การเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ และ
               การติดตามตรวจสอบสิทธิ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุมีความเห็นว่าจำนวนเงินเบี้ยยังชีพ

               ยังไม่เหมาะสม ขณะที่งานวิจัยของภัทรวดี ซอกดุลย์ (2557) ซึ่งได้ทำการศึกษา
               เรื่อง “การประเมินผลโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหาร
               ส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” โดยใช้วิธีการประเมินผล

               โครงการรูปแบบซิปป์ (CIPP) ด้านกระบวนการ ผลการดำเนินงาน และด้าน
               สภาพแวดล้อม เช่น อาคาร สถานที่ พบว่า ทั้งสามด้านมีผลการประเมินในระดับ
               มากที่สุด และเมื่อทำการประเมินผลของโครงการโดยการสอบถามกับผู้สูงอายุ

               พบว่า ผู้สูงอายุมีความเห็นว่าโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสามารถ
               ช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนของผู้สูงอายุได้





                   การประชุมกลุมยอยที่ 1
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188