Page 185 - kpi17968
P. 185
174
โครงการช่วยเหลือจากภาครัฐ) โดยเป็นการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการดำเนิน
โครงการต่อผลประโยชน์ที่เกษตรกรพึงจะได้รับ ประเด็นสำคัญของงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรับจำนำข้าวสามารถแบ่งได้เเป็นสามประเด็น (ขวัญตา
เบ็ญจะขันธ์และคณะ, 2557, หน้า 401-402)
๏ ประเด็นแรก ในเรื่องการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลกระทบของ
นโยบายการรับจำนำต่อเกษตรกร พบว่า โครงการรับจำนำข้าว
เปลือกไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกร กล่าวคือ
แม้ว่าโครงการรับจำนำไม่ได้ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง แต่ก็ไม่ได้
สนับสนุนให้เกษตรกรพัฒนาการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตของ
ตนเอง
๏ ประเด็นที่สอง ในเรื่องการตรวจสอบความคิดเห็นเกี่ยวกับ
นโยบายรับจำนำข้าวเปลือก พบว่า เกษตรกรเกือบทั้งหมด
สนับสนุนโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเพราะโครงการรับจำนำ
ทำให้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้น
๏ ประเด็นที่สาม ในเรื่องการตรวจสอบผลกระทบของนโยบายการ
รับจำนำข้าวเปลือกต่อต้นทุนการผลิตของชาวนานั้น เกษตรกร
ให้ความเห็นว่า ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ
ของโลก นโยบายรับจำนำมีผลกระทบเพียงทางอ้อมต่อต้นทุน
ที่เพิ่มขึ้น
จากการทำสนทนากลุ่มกับเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ
ภาคกลาง ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์และคณะ (2557) พบว่าการดำเนินโครงการ
รับจำนำข้าวนำไปสู่ลักษณะของ “ความไม่เท่าเทียมเชิงนโยบาย (Policy
Inequality)” ในลักษณะที่เกษตรกรที่มีปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกน้อย (ชาวนา
จน) มักจะไม่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก เพราะค่าใช้จ่ายในการเกี่ยวข้าว
นวดข้าวและขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำสูง เกษตรกร
ที่มีผลผลิตน้อยมองว่าไม่คุ้มค่าในการเข้าร่วมโครงการ จึงขายผลผลิตให้กับ
เกษตรกรที่มีทุนทรัพย์มากกว่า ในขณะที่เกษตรกรที่มีปริมาณข้าวเปลือกมาก
การประชุมกลุมยอยที่ 1