Page 184 - kpi17968
P. 184
173
กลุ่มที่สาม เป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาถึงความเข้าใจของผู้สูงอายุต่อ
โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งค้นพบผลการศึกษาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
เช่น งานวิจัยของอภิชัย บวรโมทย์ (2553) เรื่อง “ปัญหาการจัดการสวัสดิการ
สังคมเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ
จังหวัดร้อยเอ็ด” พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจโครงการเบี้ยยังชีพคนชรา
และอัตราเบี้ยที่กำหนด รวมทั้งรู้ถึงสิทธิของตนเอง โดยผู้สูงอายุจะมารับเงินเบี้ย
ยังชีพด้วยตนเอง และส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ผู้สูงอายุที่ไม่มีที่พึ่ง และอาศัยอยู่
เพียงลำพังควรได้รับการพิจารณาให้ได้รับสิทธิก่อนเป็นลำดับแรก ในขณะที่งาน
วิจัยของทองปาน โตอ่อน (2552) เรื่อง “การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และ
ความต้องการของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ
องค์การบริหารส่วนตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี” พบว่า ผู้สูงอายุที่
มีฐานะยากจนในเขตพื้นที่ห่างไกล และผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่เข้าใจ
ในเรื่องเบี้ยยังชีพคนชรา และไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพคนชรา จึงมี
ความต้องการให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของ
โครงการเบี้ยยังชีพซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาของ อภิชัย บวรโมทย์ (2553)
ที่ค้นพบว่า ปัญหาของโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คือเรื่องการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ดี
และไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนห่างไกล ส่งผลให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกล
และไม่มีผู้ดูแลไม่ทราบสิทธิของตนเอง นอกจากนี้ การศึกษาของ ณัฐธยาน์ ระโส
(2554) เรื่อง “การศึกษาประสิทธิผลขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการจัดการ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาจังหวัดนคร สววรค์” ค้นพบเพิ่มเติมว่า นโยบาย
และการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน เช่น การแจ้งวัน และเวลาในการรับเบี้ยยังชีพ ความเหมาะสม
ของสถานที่ ความเข้าใจโครงการเบี้ยยังชีพของบุคลกรที่ให้ความรู้ มีผลทำให้
ผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่
แตกต่างกัน
4.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการช่วยเหลือเกษตรกร
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการช่วยเหลือเกษตรกรเน้นการ
วิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (ในฐานะที่เป็น
การประชุมกลุมยอยที่ 1