Page 189 - kpi17968
P. 189
178
เช่น ลำไย และยางพารา ผู้วิจัยจึงเลือกทำสนทนากลุ่มในจังหวัดพะเยาเนื่องจาก
ลักษณะของสังคมเศรษฐกิจของประชากร ปัญหาที่ประชาชนประสบและการเป็น
พื้นที่เกษตรกรรม
ทั้งสี่หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาล (เขตเมือง)และนอกเขต
เทศบาล (เขตชนบท) เป็นพื้นที่ในเขตและนอกเขตชลประทาน ชาวบ้านทั้ง
สี่หมู่บ้านมีความหลากหลายในอาชีพตั้งแต่ทำเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป
ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีความหลากหลาย กล่าวคือ
ชาวบ้านบางกลุ่มมาจากภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกว่า
“อีสานล้านนา” ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษอยู่
ตารางที่ 1: หมู่บ้าน ตำบลและอำเภอที่ผู้วิจัยทำสนทนากลุ่ม
หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
1 บ้านทราย เชียงคำ
2 เชียงคำ
3 ดงเจน ภูกามยาว
4 เทศบาลเมือง เมืองพะเยา
ที่มา: ผู้วิจัย
หมายเหตุ: ผู้วิจัยไม่เปิดเผยรายชื่อหมู่บ้านเพื่อสิทธิส่วนบุคคลของชาวบ้านและเกษตรกร
ผู้วิจัยทำสนทนากลุ่มกับชาวบ้านและเกษตรกรจำนวน 55 ราย ใน
สี่หมู่บ้าน เพศชายกับเพศหญิงมีปริมาณเท่ากัน (ดูตารางที่ 2) ในแง่มุมของอายุ
ผู้วิจัยพบว่าชาวบ้านและเกษตรกรอยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปี (ประมาณ
58 เปอร์เซ็นต์) ชางบ้านและเกษตรกรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก
อย่างไรก็ดี รายได้จากการรับเบี้ยยังชีพเป็นรายได้หลักของชาวบ้านและเกษตรกร
บางส่วนเช่นกัน (ประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์) รายได้ต่อครัวเรือนของเกษตรกร
ค่อนข้างต่ำ ในส่วนของระดับการศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษา
รายละเอียดตามตารางที่ 2
การประชุมกลุมยอยที่ 1