Page 192 - kpi17968
P. 192
181
6.1 โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (และสวัสดิการสังคมอื่นๆ)
ผู้วิจัยพบว่าชาวบ้านและเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเบี้ยผู้สูงอายุ
และสวัสดิการสังคมอื่นๆ ที่ตนเองมีสิทธิได้รับเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น
ชาวบ้านที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) รู้ว่าตนเองได้สิทธิสำหรับ
อสม. ชาวบ้านที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพทราบว่าการจ่ายเบี้ยยังชีพเป็นแบบขั้นบันได
และสามารถไปรับเบี้ยยังชีพได้ที่ไหนและอย่างไร ชาวบ้านทราบขั้นตอนและ
กระบวนการดำเนินโครงการเบี้ยยังชีพจากเทศบาลโดยผ่านการประชาสัมพันธ์
ในชุมชน เช่น เสียงตามสายหรือประชาคม
ผู้วิจัย: รู้ข่าวเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพได้อย่างไรครับ? ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์หรือพ่อ
หลวง?
ชาวบ้าน: เทศบาล พ่อหลวงประกาศผ่านวิทยุเสียงตามสายจ้า (น้ำเสียงมั่นใจ)
ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าเทศบาลและผู้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญต่อระดับการเข้าถึง
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ชาวบ้านรับเบี้ยยังชีพสองทางคือไปรับด้วยตนเองกับการโอนผ่านบัญชี
อย่างไรก็ดี ชาวบ้านส่วนใหญ่ไปรับเบี้ยยังชีพเองที่เทศบาลผ่านการนัดหมาย
ในระยะเวลาที่กำหนด จากการสอบถามชาวบ้าน ยังไม่มีกรณีที่เทศบาลติดค้าง
เบี้ยยังชีพและจ่ายเบี้ยยังชีพล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้กับชาวบ้าน นอกจากนี้
กระบวนการรับเบี้ยยังชีพไม่ยุ่งยากและไม่สลับซับซ้อน ทำให้ชาวบ้านพึงพอใจใน
กระบวนการดำเนินโครงการเบี้ยยังชีพในระดับที่สูงมากหากเปรียบเทียบกับ
โครงการช่วยเหลือเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านต้องการให้เพิ่มการจ่ายเบี้ยยังชีพจากรูปแบบ
“ขั้นบันได” เป็นการจ่ายแบบ “เท่าเทียมกันทุกระดับอายุและทุกพื้นที่” เนื่องจาก
ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเพื่อความเท่าเทียมกันทุกคน สะท้อนค่านิยมของชาวบ้าน
ในเรื่องความเท่าเทียมกันในสิทธิการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ ชาวบ้าน
เสนอว่ารัฐควรเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาท ทุกเดือนจนกว่าจะสิ้นอายุขัย
5
5 ชาวบ้านบางรายเสนอ 2,400 บาทต่อเดือน
การประชุมกลุมยอยที่ 1