Page 194 - kpi17968
P. 194
183
ค่าชดเชยแม้ว่าตนเองไม่ได้เพาะปลูกข้าวแต่ให้เขาเช่านา จากการสัมภาษณ์
เกษตรกรในหมู่บ้านหนึ่ง ผู้วิจัยพบว่ารัฐไม่ได้จำแนกว่าใครปลูกข้าวจริงหรือใคร
เพียงแค่ให้เช่านา ดังนั้นโอกาสการเข้าถึงโครงการชดเชยไร่ละ 1,000 บาท ของ
ชาวนาที่เช่านาจึงน้อยกว่าเกษตรกรที่เป็นเจ้าของนา 7
ประการที่สอง หน่วยงานภาครัฐไม่ค่อยประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ
ช่วยเหลือเกษตรกรเท่าที่ควร จากการสัมภาษณ์เกษตรกรหมู่บ้านหนึ่ง เกษตรกร
ชี้ว่าเกษตรอำเภอน่าจะลงมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการเกษตรอินทรีย์
ซึ่งเกษตรกรสนใจและรัฐก็ริ่เริ่มแต่หน่วยงานรัฐก็ไม่ได้ใส่ใจดูแลเท่าที่ควร
เกษตรกรสนใจการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการพึ่งพาสารเคมีแต่เกษตรกรต้อง
เข้าไปหาเกษตรอำเภอเพื่อขอซื้อสารอินทรีย์
ผู้วิจัย: พี่ป้าน้าอาเข้าถึงโครงการช่วยเหลือเกษตรกรไหมครับ?
ชาวบ้าน: เรื่องโครงการช่วยเหลือ เช่น ประกันราคาหรือชดเชย เราเข้าถึง แต่
เราอยากให้เกษตรอำเภอลงมาดูแลชาวนาบ้าง เช่น เราอยากให้มา
ดูแลเกษตรอินทรีย์ของเราบ้าง ไม่ใช่ว่าพอเราใช้สารอินทรีย์หมด เราก็
ต้องเข้าไปซื้อที่เกษตรอำเภอ
ประการที่สาม เกษตรกรอยากให้รัฐเปิดโอกาสให้ชาวนาเข้าไปมีส่วนร่วมใน
กระบวนการช่วยเหลือเกษตรกรให้มากกว่านี้ เช่น เปิดโอกาสให้ชาวนาเข้าไปอยู่
ขั้นตอนการรับซื้อข้าวเปลือกในโครงการประกันราคา ชาวนามองว่าระดับการมี
ส่วนร่วมที่น้อยของเกษตรกรทำให้เกษตรกรเข้าไม่ถึงโครงการช่วยเหลือเกษตรกร
ที่สำคัญ ชาวนามองว่าตนเองได้รับการเอาเปรียบจากภาครัฐและพ่อค้าคนกลาง
(น่าจะเป็นโรงสี) ในขั้นตอนต่างๆ ดังนั้นรัฐควรส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นเข้าไปมี
ส่วนร่วมในกระบวนการรับซื้อข้าวเปลือก เช่น การวัดความชื้นหรือการจัดตั้ง
โรงสีข้าวและลานตากข้าวให้เกษตรกรเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการ
7 นอกจากว่าเกษตรกรเจ้าของนาแบ่งค่าชดเชยให้
การประชุมกลุมยอยที่ 1