Page 193 - kpi17968
P. 193
182
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ความแตกต่างในการจ่ายเบี้ยสวัสดิการสังคม
ในโครงการเบี้ยสนับสนุน อสม. กับเบี้ยยังชีพในโครงการอาสาสมัครอื่นๆ เช่น
อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อพปร.) ชาวบ้านมองว่ารัฐควรจะ
จ่ายเบี้ยสวัสดิการสำหรับอาสาสมัครอื่นๆ ด้วยเพื่อความเท่าเทียมกัน
6.2 โครงการช่วยเหลือเกษตรกร
จากการพูดคุยกับเกษตรกร ผู้วิจัยพบว่าเกษตรกรทราบข่าวการช่วยเหลือ
เกษตรกรจากสื่อสารมวลชนและเกษตรอำเภอ ในขณะที่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นไม่ค่อยมีบทบาทในโครงการนี้เท่าไหร่ เกษตรกรมองว่าการเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรค่อนข้างยากเพราะต้องไปหาเกษตร
อำเภอเอง
เกษตรกรไม่ค่อยพึงพอใจโครงการชดเชยเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท
เท่าไหร่เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการประกันราคา (รับจำนำ) เพราะไม่คุ้มค่ากับ
ต้นทุนการผลิตที่ลงไปกับขั้นตอนการเพาะปลูก นอกจากนี้ โครงการไร่ละ
1,000 บาท ไม่แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเพราะเกษตรกรที่มีที่ดินน้อยได้ค่า
ชดเชยน้อย ส่วนเกษตรกรที่มีที่ดินมากได้ค่าชดเชยมาก นอกจากนี้ เกษตรกร
6
เห็นว่าโครงการช่วยเหลือของรัฐบาลประเภทอื่นๆ เช่น มาตรการควบคุมราคาการ
ผลิต (ค่าเช่านา ค่าปุ๋ย) ไม่ได้ผลเพราะหน่วยงานรัฐไม่ได้เอาจริงเอาจัง นอกจากนี้
รัฐไม่สามารถควบคุมเรื่องราคาได้เพราะเป็นกลไกตลาดและเป็นการตกลงกัน
ระหว่างชาวนากับเจ้าของปัจจัยการผลิต เจ้าของนาและแรงงาน
ผู้วิจัยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรสามประการ
ประการแรก โครงการชดเชยเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท ไม่ได้ช่วยลดความ
เหลื่อมล้ำระหว่างชาวนาที่เป็นเจ้าของนากับชาวนาที่เช่านา เมื่อรัฐกำหนดว่าการ
จ่ายค่าชดเชยต้องจ่ายให้กับเกษตรกรเจ้าของนา ชาวนาที่เป็นเจ้าของนาจะได้รับ
6 ในด้านกลับกัน จากการพูดคุยกับเกษตรกรในหมู่บ้านหนึ่ง เกษตรกรชี้ว่าเกษตรกรที่มีที่
นามากอาจจะได้ค่าชดเชยไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในการเพาะปลูก ในขณะที่เกษตรกรที่มีที่นาน้อย
อาจจะได้ค่าชดเชยมากกว่าเพราะลงทุนน้อยหรือไม่ได้ลงทุนเลย
การประชุมกลุมยอยที่ 1