Page 187 - kpi17968
P. 187
176
ผู้วิจัยจึงกำหนดกรอบการวิจัยโดยเน้นประเด็นการตรวจสอบว่าความ
ห่างไกลจากกระบวนการดำเนินการโครงการและความซับซ้อนของการดำเนิน
โครงการมีอิทธิพลต่อระดับการเข้าถึงโครงการสวัสดิการสังคมเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
กับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของประชาชนหรือไม่และอย่างไร ผู้วิจัยมองว่า
ชาวบ้านที่ห่างไกลจากข้อมูลข่าวสารและกระบวนการดำเนินโครงการมีโอกาสที่จะ
เข้าถึงการบริการน้อยกว่าชาวบ้านที่อยู่ได้รับข้อมูลข่าวสาร อย่างไรก็ตาม ระดับ
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนเพิ่มมากขึ้นเมื่อองค์กรหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทำหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นระดับ
การเข้าถึงโครงการทั้งสองจะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้วิจัยมองว่าความซับซ้อนของ
โครงการมีอิทธิพลต่อระดับการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐน้อยลง อย่างไร
ก็ตาม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดระดับความซับซ้อนของการเข้าถึงโครงการลง
ประชาชนก็สามารถเข้าถึงการให้บริการสาธารณะสูงขึ้น
ระ บ ยบ ิธ ิ ัย ละกร ก า
ผู้วิจัยทำการลงพื้นที่ในพื้นที่จังหวัดพะเยาในช่วงเดือน ตุลาคม 2558
ผู้วิจัยเลือกทำสนทนากลุ่มโดยมีการกำหนดโครงสร้างของคำถาม (Structured
Focus Group) เพื่อแปลงกรอบการวิจัยไปสำรวจความคิดเห็นของชาวบ้านและ
เกษตรกรที่เกี่ยวกับโครงการทั้งสอง ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการทำสนทนากลุ่ม
ด้วยเหตุผลสองประการด้วยกัน ประการแรก การทำสนทนากลุ่มสามารถ
ดึงความคิดเห็นของชาวบ้านและเกษตรกรอย่างลึกซึ้งมากกว่าเพราะบางครั้ง
ชาวบ้านและเกษตรกรอาจจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้มากกว่าการทำแบบ
สำรวจความคิดเห็น ประการที่สอง ชาวบ้านและเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่สามารถอ่าน
หนังสือเข้าใจอย่างเต็มที่ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการทำสนทนากลุ่มมีโอกาสในการเข้าถึง
ความเห็นของชาวบ้านและเกษตรกรได้มากกว่าการสอบถามด้วยแบบสำรวจ
โครงสร้างคำถามแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกประกอบด้วยคำถามทั่วไป
เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ส่วนที่สองประกอบด้วย
คำถามเกี่ยวกับนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและนโยบายช่วยเหลือเกษตกร 1
1 ผู้วิจัยเน้นโครงการรับจำนำข้าว โครงการชดเชยเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาทและโครงการ
ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต
การประชุมกลุมยอยที่ 1