Page 182 - kpi17968
P. 182
171
ผู้สูงอายุและการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น ผลการศึกษาของ
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และคณะ (2551) ในการศึกษาเรื่อง “หลักประกันด้าน
รายได้สำหรับผู้สูงอายุไทย” พบว่า หลักประกันรายได้ในไทยแก่คนชรา มี
2 ลักษณะ คือ แบบมีระบบ มีกฎหมายรองรับ เช่น ระบบบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม และระบบการสงเคราะห์
เบี้ยยังชีพคนชรา และแบบบริหารจัดการเองภายในชุมชุน เช่น กลุ่มออมทรัพย์
โดยที่ทั้ง 2 แบบมีข้อดี คือ ผู้สูงมีอายุมีหลักประกันรายได้ และข้อเสีย คือ
การไม่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุที่ยากจน และด้อยโอกาสอย่างแท้จริง ผู้สูงอายุ
บางกลุ่มได้รับผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน ขณะที่งานวิจัยของธมนวรรณ รอดเข็ม
(2554) ในเรื่อง “การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหลังจากได้รับเบี้ยยังชีพของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดตรัง” ซึ่งเป็นการศึกษาเครื่องมือ
วัดคุณภาพชีวิตชุดย่อขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาอังกฤษ (WHOQOL-
BREF, 1996) ใน 4 ด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ภายหลังผู้สูงอายุ
ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในด้านความสัมพันธ์ในสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับ
ดีมาก ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ อยู่ในระดับดีปานกลาง นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ
มีความต้องการในสวัสดิการสังคมอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การประกอบอาชีพ
การสาธารณสุข และจำนวนเงินเบี้ยที่สูงขึ้น เช่น 1,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ธนัตถ์นันท์ เอียดพวง (2554) ในการศึกษาเรื่อง
“การประเมินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน
จังหวัดนครนายก” พบว่า เบี้ยยังชีพคนชรามีความสำคัญอย่างมากต่อผู้สูงอายุที่มี
ฐานะยากจน และไม่มีแหล่งรายได้อื่นๆ อย่างไรก็ตาม สภาวะทางเศรษฐกิจ และ
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น อัตราเบี้ยยังชีพคนชราควรปรับเพิ่มขึ้นตามสภาวการณ์ทาง
เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่เน้นการศึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน
โครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยพิจารณาปัจจัยกระบวนการทำงาน
ผลการดำเนินงาน และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการศึกษาของกลุ่มนี้ส่วน
ใหญ่ค้นพบค่อนข้างจะสอดคล้องกันว่า กระบวนการทำงานโครงการเบี้ยยังชีพ
มีความล่าช้าในการจ่ายเบี้ยยังชีพคนชรา เช่น พิมพ์ฑักษอร แสงทองไชย
การประชุมกลุมยอยที่ 1