Page 186 - kpi17968
P. 186
175
(ชาวนารวย) สามารถเข้าถึงโครงการได้มากกว่าชาวนาจนเพราะมีทุนทรัพย์ใน
การเข้าถึงโครงการ สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง
เกษตรกรที่มีฐานะดีมีโอกาสได้เข้าถึงโครงการช่วยเหลือของภาครัฐได้มากกว่า
เกษตรกรที่มีฐานะยากจน ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงการช่วยเหลือของ
เกษตรกรฐานะดีกับยากจนยังสะท้อนในงานวิจัยของ อัมมาร์ สยามวาลาและ
นิพนธ์ พัวพงศกร (2550 อ้างใน ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์, 2556) ที่ว่า
โครงการรับจำนำสินค้าเกษตรให้ประโยชน์แก่เกษตรกรร้อยละ 31 เท่านั้น ทั้งที่
เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนสูงสุด
นอกจากนี้ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงการช่วยเหลือเกษตรกร
ยังมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจของเกษตรกร หน่วยงานรัฐอาจจะ
ประชาสัมพันธ์โครงการในระดับที่ต่ำหรืออาจจะไม่ได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกร
ในรายละเอียด นงณพร ทับทิมทวีโชคและเดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ (2556)
ได้ทำการศึกษาความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเกี่ยวกับโครงการ
ประกันรายได้เกษตรกร ผู้วิจัยทำการสำรวจความคิดเห็นได้เกษตรกรกลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ (อีสานใต้) ผู้วิจัยพบว่าเกษตรกรขาดความ
ชัดเจนในข้อมูลวัตถุประสงค์ กฎระเบียบของโครงการ สิทิของตนเองที่พึงมีใน
โครงการดังกล่าวและวันสำคัญที่เกษตรกรต้องมาดำเนินการเพื่อเข้าร่วมโครงการ
ผู้วิจัยเน้นย้ำว่าหน่วยงานรัฐควรจะประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้มากกว่านี้และเจ้าหน้าที่
ของรัฐจะเป็นกลไกสำคัญในการให้ข้อมูลแก่เกษตรกร
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพบว่ามีประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับ
ปัญหาการดำเนินโครงการทั้งสอง ได้แก่
๏ ความห่างไกลจากกระบวนการดำเนินโครงการ: กล่าวคือ
ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงโครงการได้อย่างสะดวกเนื่องจากอยู่
ห่างไกลจากระบบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
๏ กระบวนการดำเนินโครงการมีความสลับซับซ้อน: กล่าวคือ
การดำเนินการมีความสลับซับซ้อนในแง่มุมของกฎระเบียบและ
ขั้นตอนที่ไม่มีความชัดเจน
การประชุมกลุมยอยที่ 1