Page 297 - kpi16531
P. 297

2 0      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               2542 กับ 2). รูปแบบมูลนิธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎกระทรวงว่าด้วยการจด
               ทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545 แต่จากการสำรวจพบว่า

               กิจการเพื่อสังคมในรูปแบบสหกรณ์และมูลนิธิมีการดำเนินงานน้อยมากอาจเป็นเพราะต้อง
               ท้องถิ่นไทยยังไม่มีประสบการณ์การดำเนินกิจการเพื่อสังคมและต้องดำเนินการจัดตั้งผ่าน
               กฎหมายที่ขาดความคุ้นเคย


                        ส่วนกิจการเพื่อสังคมของท้องถิ่นที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ก็เป็นการดำเนินงานโดยมี
               จุดประสงค์เพื่อแก้ไขอุปสรรคจากกฎระเบียบของทางราชการที่ไม่เอื้อต่อการจัดบริการสาธารณะและ
               เพิ่มความคล่องตัว โดยอาจไม่ได้ให้ความสำคัญในการหารายได้ในการดำเนินงานของกิจการ  เช่น
                                                                                                  31
               มูลนิธิตากสินระยองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองตั้งเพื่อให้โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง

               สามารถว่าจ้างผู้ที่มีความสามารถผ่านมูลนิธิโดยจ่ายค่าตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าที่ราชการกำหนด
               เป็นต้น หรือเป็นกิจการที่มิได้ดำเนินงานเพื่อจัดบริการสาธารณะโดยตรงเช่น การตั้งสหกรณ์

               ออมทรัพย์เพื่อการระดมเงินทุนและหารายได้ในรูปของเงินปันผลแก่เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นที่เป็นสมาชิก ตัวอย่างเช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี จำกัด
               สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการส่วนท้องถิ่นเชียงใหม่ จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานส่วนตำบล
               สุรินทร์ จำกัด


                      2) การคิดสร้างสรรค์ “ประเภทบริการสาธารณะ” ของการดำเนินกิจการพาณิชย์


                        จากการสำรวจของคณะผู้วิจัยเกี่ยวกับประเภทของบริการสาธารณะที่ท้องถิ่นสนใจ
               ดำเนินการเป็นกิจการพาณิชย์ พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนใจดำเนินกิจการพาณิชย์ตลาด
               มากที่สุด จำนวน 100 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 13.3 รองลงมาลำดับสอง คือ โรงรับจำนำ จำนวน
               97 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.9 ลำดับสาม คือ โรงฆ่าสัตว์ จำนวน 59 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.8 ลำดับสี่

               คือ ประปา จำนวน 53 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7 และลำดับห้าคือ บ่อบำบัดน้ำเสีย จำนวน 44 แห่ง
               คิดเป็นร้อยละ 5.8 ดังแผนภูมิที่ 7 จากผลสำรวจนี้สะท้อนถึงกรอบคิดกิจการพาณิชย์ที่ค่อนข้างจำกัด

               อยู่กับกิจการพาณิชย์ประเภทดั้งเดิมตั้งแต่มีการตรากฎหมายให้เทศบาลสามารถจัดทำเทศพาณิชย์
               เช่น ตลาด โรงฆ่าสัตว์ ประปา การบำบัดน้ำเสีย โรงรับจำนำ เป็นต้น ทำให้การสร้างสรรค์ประเภท
               กิจการพาณิชย์ใหม่ ๆ ที่นอกเหนือไปจากผลสำรวจมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของ
               กฎหมายดังที่กล่าวไปตอนต้นก็ทำให้ท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ประเภทกิจการพาณิชย์แบบใหม่ก็ไม่

               สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ



















                  31   ข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการสัมมนากลุ่มเมื่อวันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302