Page 300 - kpi16531
P. 300
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 2 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
< การเพิ่มอัตรากำลัง เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ที่กำหนดให้การจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนของข้าราชการ
พนักงานส่วนท้องถิ่นที่จ่ายจากเงินรายได้ต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณ
รายจ่ายประจำปี ทำให้กรอบอัตรากำลังในการจ้างบุคลากรถูกจำกัดด้วยงบประมาณ
โดยปริยาย โดยหนังสือมท 0809.2/4561 ของสำนักพัฒนาระบบริหารงานบุคคล
ส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ตอบข้อหารือต่อ
สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับการกำหนดกรอบอัตรากำลังการจ้าง
พนักงานจ้างใหม่ เพื่อดำเนินกิจการเดินรถประจำทางที่เป็นกิจการพาณิชย์และได้ตั้ง
งบประมาณรายจ่ายจากงบเฉพาะการนั้น เงินเดือนและค่าจ้างพนักงานในกรณีนี้
ต้องนำมาคำนวณรวมกับเงินเดือนและค่าตอบแทนพนักงานเทศบาลหรือไม่ ซึ่งทาง
สำนักงานก.ท. เห็นว่ากิจการเดินรถประจำทางซึ่งตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายเฉพาะ
การถือเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีประเภทหนึ่ง จึงทำให้เงินเดือนหรือ
ค่าตอบแทนพนักงานที่ดำเนินกิจการรถประจำทางต้องนำมาคำนวณกับเงินเดือน
ค่าตอบแทนของพนักงานเทศบาล เพื่อพิจารณาว่ามีจำนวนเกินกว่าร้อยละที่กำหนด
ในมาตรา 35
34
< ปัญหาการจ่ายค่าตอบแทนที่ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ เนื่องจากกิจการ
พาณิชย์ที่มีรูปแบบการดำเนินงานด้วยตนเอง ประสบปัญหาในการเชิญชวนผู้มีความ
สามารถหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาร่วมงานในกิจการพาณิชย์ เนื่องจากต้องจ่าย
ค่าตอบแทนตามอัตราเงินเดือนและค่าจ้างที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเรื่อง กำหนดมาตรฐานกลางการบริหาร
งานบุคคลส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอัตราเท่ากับหรือต่ำกว่าค่าตอบแทนที่ได้รับจากการเป็น
ข้าราชการพลเรือนของส่วนกลาง ซึ่งจากการประชุมกลุ่มของผู้วิจัยพบว่าผู้บริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานเดือนละ 15,000 บาท หรือ
ต่ำกว่าทำให้ไม่ดึงดูดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ (เช่น แพทย์) หรือจ้าง
ผู้บริหารมืออาชีพเพื่อบริหารกิจการพาณิชย์ เป็นต้น
35
3. .3 ข้อจำกัดจากเจตนารมณ์ทางการเมือง
จากการสำรวจโดยคณะผู้วิจัยว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสนใจหรือ
มีแผนการดำเนินกิจการพาณิชย์ไม่มากนัก โดยผลการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วนใหญ่ จำนวน 369 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 49 ไม่สนใจดำเนินกิจการพาณิชย์ และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น จำนวน 275 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 36.5 สนใจดำเนินกิจการพาณิชย์ และเมื่อเมื่อ
พิจารณาแยกตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่
จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 48.8 เทศบาลส่วนใหญ่ จำนวน 312 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 47.4 และ
องค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ จำนวน 37 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 69.8 ไม่สนใจดำเนินกิจการ
34 หนังสือ มท 0809.2/4561 ของสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ท.)
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
35 ข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนากลุ่มย่อยเมื่อวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557