Page 302 - kpi16531
P. 302

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     2
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 เปลี่ยนแปลงในอัตราการเก็บรายได้ประเภทนี้จะส่งผลต่อความนิยมทางการเมือง ทั้งรายได้จาก
                 กิจการพาณิชย์ ค่าธรรมเนียม หรือภาษีที่ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บเองได้


                         3) มองว่าการ “ขาดทุนเพื่อประชาชนคือเรื่องจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้”

                           การดำเนินบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมากดำเนินงาน
                 ในลักษณะที่ขาดทุนหรือได้กำไรน้อยเพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน

                 เช่น การคิดค่าน้ำประปาในราคาถูก การไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ เป็นต้น หรือ
                 การขาดทุนมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณที่จัดสรรลงมาสู่หน่วยบริการสาธารณะ จนทำให้ผู้บริหาร

                 และบุคลากรของท้องถิ่นหรือบุคลากรของส่วนกลางที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารงานของท้องถิ่น
                 มองว่า “ขาดทุนเพื่อประชาชนคือเรื่องจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้”

                           อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเห็นว่า สาเหตุของการขาดทุนสามารถแก้ไขได้โดยไม่จำเป็นต้อง

                 สร้างความเดือดร้อนแก่สาธารณะ เช่น การปรับปรุงวิธีการดำเนินกิจการ การลดต้นทุน หรือการ
                 ประเมินรายได้และการเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อเพิ่มรายได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนต่อสาธารณะ ฯลฯ
                 ซึ่งต้องอาศัยทักษะในการดำเนินธุรกิจเข้ามาบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุนมากขึ้น ดังนั้น
                 การเปลี่ยนวิธีคิดจาก “ขาดทุนเพื่อประชาชนคือเรื่องจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้” มาเป็น “การ

                 ขาดทุนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ เกิดขึ้นชั่วคราว และต้องเป็นทางเลือกสุดท้าย” กล่าวคือ การขาดทุน
                 ในการจัดบริการสาธารณะต้องเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายเมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอื่น

                 ได้อีก หรือเป็นการขาดทุนที่จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่ท้องถิ่นได้ประมาณการไว้ล่วงหน้า
                 และเป็นการขาดทุนเพียงชั่วคราว และต้องมีแผนการดำเนินงานที่สามารถลดการขาดทุนเพื่อหา
                 รายได้ที่เพียงพอต่อการดำเนินงานในอนาคต


                           ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่า การดำเนินงานของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมจึงควร
                 บริหารงานให้มีประสิทธิภาพโดยป้องกัน หลีกเลี่ยง หรือลดการขาดทุนให้เหลือน้อยที่สุดและเป็นทาง
                 เลือกสุดท้าย เพราะนอกจากจะทำให้การบริหารงานในกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมดำเนิน
                 งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และสอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะโดยไม่ต้องเป็นภาระ

                 ทางการคลังแก่ท้องถิ่นและรัฐบาลแล้ว ยังจะเป็นตัวอย่างที่ของการบริหารงานภาครัฐในยุคปัจจุบัน
                 อีกด้วย
                       36

                         4) มีความตั้งใจในการดำเนินกิจการพาณิชย์แต่ดำเนินการไม่ได้เพราะงบ
                 ประมาณและกฎหมาย


                           เนื่องจากมีหลายกรณีที่ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความตั้งใจในการ
                 ดำเนินกิจการพาณิชย์ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ทางการเมืองแต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดของท้องถิ่น


                    36   ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจพยายามแก้ไขปัญหาการขาดทุนของหน่วยบริการสาธารณะ เช่น
                 สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขช่วงพ.ศ.2553-2554 ที่มีสถานพยาบาลขาดทุนรวม 579 แห่งจาก
                 832 แห่ง โดยขาดทุนรวม 7,388 ล้านบาท (ไทยพับลิก้า 2554) หรือการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกลางที่
                 ขาดทุนจำนวนมากเช่น พ.ศ. 2556 มีการขาดทุนในบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
                 การกีฬาแห่งประเทศไทย องค์การสะพานปลา และองค์การตลาดสูงถึง 17,497.96 ล้านบาท (ศูนย์เทคโนโลยี
                 สารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง 2557) เป็นต้น
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307